ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

13 สิงหาคม 2557

วิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์

วิทยานิพนธ์ และ ดุษฎีนิพนธ์






คำว่า “วิทยานิพนธ์”นั้นในภาษาอังกฤษมีคำที่ใช้อยู่สองคำ คือคำว่า “Thesis” ใช้กับวิทยานิพนธ์ปริญญาโท และ 
Dissertation” ใช้กับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก (Glatthorn & Joyner 2005) โดยทั่วไปแล้วกระบวนการเขียนจะคล้ายกัน ความแตกต่างที่สำคัญจะอยู่ที่ขอบเขตและความซับซ้อนของงานเท่านั้น (Glatthorn & Joyner 2005) แนวคิดนี้เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาแต่ในอังกฤษมักจะใช้คำว่า “Thesis”เหมือนกันทั้งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สำหรับในภาษาไทยในปัจจุบันนี้วิทยานิพนธ์ใช้กับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทส่วนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกนั้นใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์” ในที่นี้จะใช้คำว่า  “ดุษฎีนิพนธ์”  หรือ  ”วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก”โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน



ผลผลิตสุดท้ายของการเรียนปริญญาเอกก็คือดุษฎีนิพนธ์ (Phillips & Pugh 1994) การเขียนดุษฎีนิพนธ์จึงเป็นหัวใจของการเรียนปริญญาเอก และเนื่องจากว่าการเรียนปริญญาเอกเป็นการผลิตนักวิจัยมืออาชีพ ซึ่งได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกชุมชนวิชาการระดับโลก (Phillips & Pugh 1994) ดุษฎีนิพนธ์จึงต้องได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของนานาชาติด้วย เพื่อให้เป็นที่แน่ใจได้ว่ามหาวิทยาลัยได้ทำการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของชุมชนวิชาการระหว่างประเทศ โดยปกติทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพดุษฎีนิพนธ์เอาไว้เป็นการล่วงหน้า ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบตั้งแต่ต้น และถือปฏิบัติในการทำดุษฎีนิพนธ์ของตน และมอบให้คณะกรรมการหรือผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกใช้เป็นแนวทางในการตรวจพิจารณาตัดสินขั้นสุดท้ายในการสอบดุษฎีนิพนธ์

                             

วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต (Dissertation)


 ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มีวิธีการกระทำที่ถูกต้องและลึกซึ้งตามหลักวิชาการ และมีข้อมูลซึ่งบ่งชัดเจนถึงสิ่งที่ได้ ค้นพบใหม่ ซึ่งอาจจะนำไปใช้ในการสร้างทฤษฎีใหม่ หรือนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้


วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (Thesis)


 ผู้วิจัยได้ทำการทดลองค้นคว้าและทำการวิจัยมาอย่างดีพอสมควร ได้ข้อมูลที่อาจจะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมหรือที่ได้ค้นพบใหม่ แต่ข้อมูลนั้น อาจจะยังต้องมีการทำวิจัยเพิ่มขึ้นอีกเพื่อยืนยันความถูกต้องแน่นอน


สารนิพนธ์ (Thematic Paper)


 ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระที่กำหนด สำหรับผู้ที่ศึกษาในหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต แผน ข คือ รายงานขนาดยาวเกี่ยวกับ ข้อมูลต่างๆ ซึ่งได้มาจากการอ่าน รวบรวม และการวิเคราะห์ของผู้เขียน ข้อมูลเหล่านั้นได้มาจากผลงานของผู้อื่น ผู้เขียนไม่ได้ลงมือทำการวิจัยเอง แต่ได้สรุปผลของ ความคิดเห็นไว้เป็นเรื่องเดียวกัน



วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ภาคนิ
พนธ์สารนิพนธ์


วิทยานิพนธ์ และปริญญานิพนธ์ หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่นําเสนออย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานจากการค้นคว้าและวิจัย เป็นข้อกําหนดอย่างหนึ่งในการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รูปแบบของวิทยานิพนธ์เป็นไปตามข้อกําหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า thesis.

ภาคนิพนธ์ และสารนิพนธ์ กล่าวโดยรวมหมายถึง งานที่ต้องศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ วิจารณ์ เพิ่มเติม โดยการใช้หลักและทฤษฎีศึกษา รวมถึงการเขียนในบริบทต่าง ๆ ที่ได้เรียนมาในวิชานั้น ๆ แล้ว สรุปผลเรียบเรียงเป็นรายงานในวิชาที่เรียนประจําภาคน้ัน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า term paper.

ภาคนิพนธ์ เป็นคําเรียกรายงานผลการศึกษาค้นคว้าในวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่งของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาที่เขียนเป็นรายงานทางวิชาการ เพื่อฝึกฝนความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ ผู้สอนวิชาน้ันเป็นที่ปรึกษา ทําให้มีความสามารถในการเขียนงานวิชาการ. ภาคนิพนธ์มักใช้เป็นส่วนประกอบ ในการวัดผลร่วมกับการสอบข้อเขียน และการสอบปากเปล่า. ภาคนิพนธ์ทําให้ผู้สอนประเมินผู้เรียนได้ว่า มีความสามารถในการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองต่อไปได้หรือไม่ และผู้เรียนมีความสามารถในการประมวล ความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา รวมทั้งมีความสามารถในการเขียนบรรยายมากน้อยเพียงใดด้วย

สารนิพนธ์ เป็นคําเรียกรายงานผลการศึกษาค้นคว้าในสาขาวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่งของ นักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท เพื่อฝึกฝนให้มีความสามารถในการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีอาจารย์ ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา. วิชาที่เรียนเรียกว่า Individual Study ในภาษาไทยใช้ว่า การศึกษาเฉพาะบุคคล หรือ การศึกษาเอกเทศ. รายงานผลการศึกษาน้ันต้องเขียนเป็นเอกสารเสนอต่ออาจารย์ผู้สอน

สารนิพนธ์เป็นการประมวลความรู้จากผู้อื่น หรือความรู้ที่ได้ใหม่ หรือเป็นผลการศึกษาเฉพาะ ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหน่ึงของวิชา ผลการศึกษาของสารนิพนธ์อาจนําไปใช้เป็นส่วนหนึ่ง ของวิทยานิพนธ์ก็ได้



ที่มา ::  http://board.eduzones.com/question.php?qid=20110310133554gHfRbh8
            http://www.grad.mahidol.ac.th/grad/ThesisWriting2009/different_th.html





ติดตามเราได้ที่   ::   https://www.facebook.com/prapasara.blog


1 ความคิดเห็น:

  1. มีการใช้ค่อนข้างหลากหลาย

    แบบที่ 1:

    ปริญญานิพนธ์ (งานเขียนที่เกิดจากการค้นคว้า ศึกษา/วิจัย ที่เป็นส่วนหนึ่งของการจบการศึกษาระดับอุดมศึกษา: ใช้ได้ทั้งระดับ ตรี โท เอก)

    - ระดับ ป.ตรี --> ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาบัณฑิต --> ภาคนิพนธ์

    - ระดับ ป. โท --> ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต --> วิทยานิพนธ์ (ในไทย ถ้าแผน ก. ก็เรียกว่า วิทยานิพนธ์ แผน ข เรียกว่าสารนิพนธ์)

    - ระดับ ป.เอก --> ปริญญานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต --> ดุษฎีนิพนธ์

    แบบที่ 2

    - ป. ตรี --> ปริญญานิพนธ์
    - ป. โท --> วิทยานิพนธ์ (แผน ก), สารนิพนธ์หรือภาคนิพนธ์ (แผน ข)
    - ป. เอก --> วิทยานิพนธ์

    แบบที่ 3

    - ป.ตรี --> สารนิพนธ์
    - ป.โท --> วิทยานิพนธ์ (แผน ก), การศึกษาปัญหาเฉพาะ (แผน ข)
    - ป.เอก --> วิทยาพิพนธ์

    แล้วก็มีแบบที่ 4,5 ... แล้วแต่มหาวิทยาลัย แม้แต่ในมหาวิทยาลัยเดียวกันแต่ต่างคณะก็ใช้ต่างกัน

    คงเหมือนกับมหาวิทยาลัยประเทศอังกฤษ

    - ป. ตรี ปีสุดท้ายก่อนจบต้องทำรายงานวิจัยขอจบ เรียนหลักสูตรธรรมดาบางที่เรียกว่า Final year project บางมหาวิทยาลัยเรียกว่า Dissertation ในขณะที่บางหมาวิทยาลัยจะเรียก Dissertation เฉพาะเด็กที่เรียนตรีหลักสูตรออร์เนอร์ดีกรีเท่านั้น

    - ป. โท เรียก Dissertation
    - ป. เอก เรียก Thesis

    ส่วนอเมริกา
    - ป. ตรี เรียกหลากหลายเช่น Senior project, Research project, Term paper ฯลฯ แล้วแต่มหาวิทยาลัย สาขา ฯลฯ
    - ป. โท เรียก Thesis ถ้าเลือกแผน ก. แบบไทย ถ้าแผน ข. Individual study, Independent study, Research project etc.
    - ป. เอก เรียก Dissertation ถ้าเรียนหลักสูตร Doctor of Philosophy (PhD) แต่ถ้าเรียนหลักสูตร Doctor of ...สาขาที่เรียน... บางที่เรียก Dissertation บางที่เรียก Thesis แล้วแต่หลักสูตร/มหาวิทยาลัย

    ปล.

    หลักสูตร ป.โท ในไทยที่บอกว่าเรียนแผน ข. แล้วจบใน 2 ปี ไม่เสมอไปครับ ขึ้นอยู่กับหลักสูตร และตัวนักเรียน
    - เพราะว่าบางคนก็ใช้เวลาทำ IS เป็นปีก็มี เลยจบไม่ทัน
    - บางที่บอกว่า 2 ปี แต่มีวิชาเรียนประมาณ 3 วิชาในปี 2 เทอม 2 เรียนเสร็จก็ครบสองปีพอดี แล้วจะสอบ Comprehensive exam ขอจบตอนช่วงซัมเมอร์หรือต้นปี 3 กว่าจะตรวจข้อสอบ ฯลฯ ก็ประมาณ 2.5 ปี (อันนี้กรณีที่ครั้งเดียวผ่านทุกวิชา) มีบางสาขาของคณะอักษรจุฬาฯ ที่จะสอบ Compre ตอนปี 3 เทอม 2 กว่าจะเสร็จก็ 3 ปี ก็มี

    ถ้าเป็น ป.โท ที่อังกฤษ

    - สามารถทำ dissertation และจบใน 1 ปี ได้ (ถ้าเป็นหลักสูตร 1 ปี) แต่บางคณะจะจบกัน 1.5 - 2 ปี ก็หลายคนอยู่
    - บางหลักสูตรเรียน 1.5 - 2 ปี แล้วค่อยทำ dissertation ก็ใช้เวลา 2-2.5 ปี
    - บางสาขาเช่น Social studies, Social work etc หลักสูตรเรียน 2 ปี แต่เด็กต้องทำ dissertation ให้ผ่านตอนจบปี 1 แล้วถึงลงรายวิชาเรียนต่อตอนปี 2 ได้ (แต่พอจบปี 2 แล้วทำแค่ term papers ไม่ต้องทำ dissertation แล้ว)


    ตอบลบ