ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

16 มกราคม 2555

กูเกิล (Google Inc.)

                         กูเกิล (Google Inc.)





กูเกิล (Google Inc.) (แนสแด็ก: GOOG และ LSE: GGEA) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550)
กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube



ประวัติ

ต้นกำเนิดกูเกิล


กูเกิลเริ่มก่อตั้งเมื่อ มกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสำหรับดุษฎีนิพนธ์ของ แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน นักศึกษามหาวิทยาลัยปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จากสมมุติฐานของเสิร์ชเอนจินที่สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของของเว็บไซต์ มาจัดอันดับการค้นหาที่เรียกว่าเพจแรงก์ โดยชื่อเสิร์ชเอนจินที่ตั้งมาในตอนนั้นชื่อว่า "แบ็กรับ" (BackRub) ตามความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลการลิงก์ย้อนกลับไป (back links) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของแต่ละเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ที่มีเว็บไซต์อื่นลิงก์เข้ามาหามากที่สุด จะเป็นเว็บไซต์ที่มีความสำคัญสูงสุด และจะถูกจัดอันดับไว้ดีกว่า โดยทั้งคู่ได้ทดสอบเสิร์ชเอนจิน โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนพอร์ดในชื่อโดเมนว่า google.stanford.edu และต่อมาได้จดทะเบียนบริษัทกูเกิล (Google Inc.) ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยใช้โรงจอดรถของเพื่อนที่เมืองเมนโรพาร์กเป็นสำนักงาน โดยในขณะนั้นมีพนักงาน 4 คนซึ่งรวมบรินและเพจ และชื่อโดเมน google.com ได้ถูกจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กันยายน ในขณะเดียวกันทั้งคู่ได้ลาพักการเรียน และใช้เวลาในการพัฒนาหาเงินทุนพัฒนาจากครอบครัว เพื่อนฝูง และนักลงทุน เป็นจำนวนเงินกว่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเช็กเงินจาก แอนดี เบกโทลไชม์ ผู้ก่อตั้งซันไมโครซิสเต็มส์
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 บริษัทได้ย้ายไปยังเมืองแพโลอัลโทที่ตั้งของบริษัทคอมพิวเตอร์หลายแห่ง ซึ่งต่อมากูเกิลได้ย้ายบริษัทอีกครั้งไปยังเมืองเมาน์เทนวิว ไปยังสำนักงานใหม่ในชื่อเล่นว่ากูเกิลเพล็กซ์ ซึ่งในปี 2543 กูเกิลได้เปิดธุรกิจในส่วนโฆษณาในชื่อ แอดเวิรดส์ และ แอดเซนส์ โดยเป็นการโฆษณาผ่านคำค้นหา ซึ่งทำให้ข้อความโฆษณาตรงกับความต้องการของผู้ค้นหาเนื้อหาในเว็บไซต์ และสองส่วนนี้กลายมาเป็นธุรกิจหลักของกูเกิลร่วมกับตัวเสิร์ชเอนจิน
เดือนพฤษภาคม 2543 กูเกิลได้มีผู้ใช้งานค้นหาคำมากกว่า 18 ล้านคำต่อวัน ซึ่งกลายมาเป็นเซิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของโลก และในเดือนมีนาคม 2544 เอริก ชมิดต์ อดีตผู้บริหารบริษัทโนเวลล์ และผู้บริหารระดับสูงของซันไมโครซิสเต็มส์ได้เข้ามาร่วมงานกับกูเกิลในตำแหน่งประธานบริหาร



จัดตั้งบริษัทมหาชน


ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน โดยมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 19,605,052 หุ้นที่ราคา 85 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น โดย 14,142,135 หุ้น (อ้างค่าทางคณิตศาสตร์ √2 ≈ 1.4142135) ได้มีการเปิดขายแก่ประชาชนโดยกูเกิล และ 5,462,917 โดยผู้ถือหุ้นขาย หุ้นของกูเกิลในช่วงขายหุ้นครั้งแรกนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากกว่า 200% ในช่วงปิดตลาดหุ้นของวันแรกที่ได้ประกาศ (เปรีบเทียบกับ ไป่ตู้ เสิร์ชเอนจินของประเทศจีน มูลค่าเพิ่มขึ้น 354% ในช่วงปิดตลาดวันแรก วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2548) และในวันที่ 31 ตุลาคม 2550 หุ้นกูเกิลได้ขึ้นไปสูงถึงราคา 700 เหรียญสหรัฐ
กูเกิลอยู่ในตลาดหุ้นแนสแด็ก ในชื่อสัญลักษณ์ GOOG และในตลาดหุ้นลอนดอนในสัญลักษณ์ GGEA

การซื้อกิจการ

ตั้งแต่ปี 2544 กูเกิลได้เริ่มมีการซื้อบริษัทที่มีการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เข้ามา ตัวอย่างบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการซื้อได้แก่ บล็อกเกอร์พัฒนาโดยไพราแล็บส์แพลตฟอร์มสำหรับให้บริการเขียนบล็อก ปีกาซาที่พัฒนาโดยไอเดียแล็บซอฟต์แวร์สำหรับดูไฟล์ภาพและวิดีโอ คีย์โฮลพัฒนาโดยบริษัทคีย์โฮลซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิลเอิร์ธ เออร์ชินเว็บแอปพลิเคชันในการวิเคราะห์สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นแอนะลิติกส์ ไรต์รีเว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเอกสารสำนักงานออนไลน์ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของด็อกส์ สเก็ตช์อัปพัฒนาโดยแอตแลสต์ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสามมิติ ยูทูบเว็บไซต์ให้บริการแชร์วิดีโอออนไลน์ จอตสปอตเว็บไซต์สำหรับสร้างเว็บไซต์แนววิกิปัจจุบันใช้ชื่อไซตส์ ดับเบิลคลิกบริษัทให้บริการโฆษณาออนไลน์ ไจกุเครือข่ายสังคมออนไลน์ โมโตโรล่า โมบิลิตี้ บริษัท ผลิตอุปกรณ์การสื่อสาร

ความร่วมมือ


ตั้งแต่ปี 2548 กูเกิลได้เริ่มมีการร่วมมือกับบริษัทอื่นและหน่วยงานรัฐบาลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยกูเกิลได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยนาซ่าเอมส์ ในด้านการวิจัยระบบจัดการข้อมูล เทคโนโลยีนาโน และการสำรวจอวกาศ กูเกิลยังได้จับมือกับซันไมโครซิสเตมส์โดยได้แบ่งข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย กูเกิลได้ร่วมมือกับเอโอแอลของไทม์วอร์เนอร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบค้นหาวิดีโอออนไลน์ นอกจากนี้ทางบริษัทได้มีการลงทุนในส่วนของรหัสโดเมนบสุด .mobi ร่วมมือกับหลายบริษัทได้แก่ ไมโครซอฟท์ โนเกีย อีริกสัน


โครงการรณรงค์


กูเกิล ร่วมรณรงค์กิจกรรมการปิดไฟ กับโครงการเอิร์ธ อาวเออร์ (Earth Hour) ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF) ด้วยการปรับหน้าเว็บเพจเป็นสีดำพร้อมข้อความว่า "เราปิดไฟแล้ว ต่อไปตาคุณ" (We've turned the lights out. Now it's your turn.) ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551

"Google"


ชื่อ "Google" มาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10100 เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง
ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูเกิลชนะความในศาล ในคดีที่มีบริษัทอื่นตั้งชื่อใกล้เคียง ได้แก่ googkle.com ghoogle.com และ gooigle.com เพื่อเรียกให้คนอื่นเข้าเว็บไซต์ของตน ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของกูเกิล

ผลิตภัณฑ์ของกูเกิล

ซอฟต์แวร์เดสก์ทอป


ซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล
กูเกิล ทอล์ก
ทอล์ก (Google Talk) ซอฟต์แวร์เมสเซนเจอร์และวีโอไอพี
กูเกิล เอิร์ธ
เอิร์ธ (Google Earth) ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ
ปีกาซา
ปีกาซา (Picasa) ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา
กูเกิล แพ็ก
แพ็ก (Google Pack) เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง ไฟร์ฟอกซ์ สตาร์ออฟฟิศ อะโดบี รีดเดอร์ สไกป์
กูเกิล โครม
โครม (Google Chrome) ซอฟต์แวร์เบราว์เซอร์
สเก็ตช์อัป
สเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ
กูเกิล แมพ
แมพ (Google Map) ซอฟแวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก


บริการบนอินเทอร์เน็ต




ชื่อ ชื่ออังกฤษ รายละเอียดย่อ
กูเกิล เสิร์ช Google Search เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา
กูเกิล กรุ๊ปส์ Google Groups บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม
กูเกิล ค้นหารูปภาพ Google Image Search บริการค้นหารูปภาพออนไลน์
กูเกิล แคเลนเดอร์ Google Calendar บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย
จีเมล Gmail บริการอีเมล
กูเกิล ไซต์ไกสต์ Google Zeitgeist บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช
กูเกิล ด็อกส์ Google Docs บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ [12] โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550
กูเกิล ทรานซเลต Google Translate บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า
บล็อกเกอร์ Blogger บริการเขียนบล็อก
กูเกิล บล็อกเสิร์ช Blog Search บริการค้นหาบล็อก
ปีกาซา Picasa เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา
กูเกิล เพจ Google Page บริการสร้างเว็บไซต์
กูเกิล โน้ตบุ๊ก Google Notebok บริการสมุดบันทึกออนไลน์
กูเกิล แมปส์ Google Maps บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร
ยูทูบ YouTube บริการแชร์วิดีโอ
กูเกิล วิดีโอ Google Video บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์
กูเกิล เว็บมาสเตอร์ Google Webmaster ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์
กูเกิล สกอลาร์ Google Scholar บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ
กูเกิล สกาย Google Sky ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์
กูเกิล สารบบเว็บ Google Directory ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ
ออร์กัต Orkut เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547
กูเกิล แอดเซนส์ Google AdSense ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์
กูเกิล แอดเวิรดส์ Google AdWords บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์
กูเกิล แอนะลิติกส์ Google Analytics บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน
กูเกิล แอปส์ Google Apps บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน
ไอกูเกิล iGoogle ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแก็ดเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้
กูเกิลกูรู Google guru เชิญให้สมาชิก Gmail เข้ามาตั้งคำถามและตอบคำถามได้ โดยมีคะแนนที่ทางกูเกิลให้เมื่อเข้ามาที่กูเกิล สามารถใช้ตั้งคำถามได้ เป็นเวอร์ชันทดลองให้ไปลองใช้กัน พบแต่ในประเทศไทยเท่านั้น
กูเกิล พลัส Google Plus เครือข่ายสังคมออนไลน์ล่าสุดจากกูเกิล (เปิดตัวในวันที่ 28 มิ.ย. 2554 โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้งานให้ทดลองใช้เฉพาะผู้ที่มี invite หลังจากนั้นวันที่ 20 ก.ย. 2554 ก็เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ใช้งานโดยไม่ต้องมี invite)
กูเกิล มิวสิค Google Music บริการฟังเพลง-ดาวน์โหลดเพลงออนไลน์จากกูเกิล ในเบื้องต้นเปิดใช้เป็นทางการเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา [
โดยบริการที่อยู่ในขั้นทดลอง จะเปิดให้ใช้งานโดยจะมีคำว่า "Beta" อยู่ภายใต้โลโก้นั้นซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกูเกิล แล็บส์ (Google Labs)




บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ


  • Map's for mobile
  • Mobile
  • SMS


ระบบปฏิบัติการ


แอนดรอยด์
แอนดรอยด์ (Android) ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟนที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
กูเกิล โครมโอเอส
โครม โอเอส (Chrome OS) ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่ 2 ราย คือ ซัมซุง และ เอเซอร์
กูเกิลทีวี
กูเกิลทีวี (Google TV) ระบบปฏิบัติการบนโทรทัศน์รุ่นใหม่ เช่น สมาร์ททีวี แอลอีดีทีวี สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านทีวีได้

สำนักงาน



กูเกิลมีสำนักงานหลายสาขาทั่วโลก โดยในสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 20 สาขา และที่อื่นทั่วโลกมากกว่า 40 แห่ง กูเกิลสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิวในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยสถานที่ตั้งของสาขาทั้งหมดดังนี้
สหรัฐอเมริกา
อเมริกาเหนือ
อเมริกาใต้
ออสเตรเลีย
เอเชีย
ยุโรป


ความขัดแย้งในกฏและสิทธิ



การเติบโตของกูเกิลในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และการบริการ ก่อให้เกิดความขัดแย้งและการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้ง ตัวอย่างเช่นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหนังสือ จากการให้บริการค้นหาหนังสือผ่าน กูเกิล บุ๊กเสิร์ช ที่มีการนำข้อมูลจากหนังสือมาสแกนเพื่อให้ผู้ใช้งานค้นคว้าง่ายขึ้น เช่นเดียวกับการค้นหาภาพผ่าน กูเกิล ค้นหารูปภาพ นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์ที่กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลในการค้นหาบางส่วน เช่นกูเกิลได้ยอมให้ในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานกูเกิลจีนค้นหาข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลเกี่ยวกับ การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และเช่นเดียวกันในการเซ็นเซอร์ของเยอรมนีและฝรั่งเศสเกี่ยวกับการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี
ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัวนั้นกูเกิลถูกวิจารณ์ว่าได้เก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของคุกกี้ เป็นระยะเวลานานกว่าเว็บไซต์อื่น โดยทางกูเกิลเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 18 เดือน ขณะที่ทางยาฮู!และเอโอแอลเก็บข้อมูลเป็นเวลา 13 เดือน ทางด้านข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ที่แสดงผลผ่าน กูเกิล เอิร์ธ และกูเกิล แมปส์ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยความมั่นคงของหลายประเทศ ในด้านความเป็นส่วนตัว และการล้วงความลับทางการเมือง รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถดูสถานที่สำคัญโดยไม่มีการเซ็นเซอร์ เช่น พระราชวัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในด้านการจารกรรมและปัญหาการก่อการร้ายได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเปิดให้ดูได้มานานก่อนหน้าที่กูเกิลจะออกซอฟต์แวร์ก็ตาม
ในด้านการโฆษณาผ่านกูเกิล ได้มีการวิจารณ์ในระบบการโฆษณาที่ไม่มีประสิทธิภาพเต็มความสามารถ ซึ่งทางเจ้าของเว็บไซต์ที่ติดตั้งโฆษณาพยายามโกงโดยการกดโฆษณาเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเอง ทำให้ผู้ลงโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นซึ่งมีรายงานว่า 14-20 เปอร์เซนต์ เป็นการกดโดยตั้งใจเพื่อทำรายได้ให้กับเจ้าของเว็บ นอกจากนี้กูเกิลยังโดนกล่าวถึงในเรื่องของการกีดกันโอกาสของคนต่างเพศและคนสูงอายุจากอดีตพนักงานที่โดนเชิญให้ออก


อ้างอิง


  1. ^ 1.0 1.1 1.2 "The Rise of Google". ยูเอสเอทูเดย์ (ฉบับที่). 29 เมษายน พ.ศ. 2547. http://www.usatoday.com/money/industries/technology/2004-04-29-google-timeline_x.htm. เรียกข้อมูลเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551.
  2. ^ "Financial Tables". Google Investor Relations. http://investor.google.com/fin_data.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2551.
  3. ^ "Google’s Surge Would Make Casey Kasem Proud". Wall Street Journal. 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550. http://blogs.wsj.com/marketbeat/2007/10/31/googles-surge-would-make-casey-kasem-proud/. เรียกข้อมูลเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2551.
  4. ^ "100 Best Companies to Work For 2007." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
  5. ^ 5.0 5.1 ประวัติบริษัทกูเกิล
  6. ^ ประวัติกูเกิล
  7. ^ http://google.stanford.edu
  8. ^ Google 2004 Annual Report
  9. ^ Google, Sun make 'big deal' together
  10. ^ dotMobi Investors
  11. ^ Earth Hour google.co.th
  12. ^ Writely So จากบล็อกกูเกิล
  13. ^ ที่ตั้งทั้งหมดของสำนักงานกูเกิล
  14. ^ "A New Chapter". The Economist. 30 ตุลาคม 2551. http://www.economist.com/business/displaystory.cfm?story_id=12523914. เรียกข้อมูลเมื่อ 2008-11-07.
  15. ^ Liedtke, Michael. "Ask.com will purge search info in hours", Journal Gazette, Fort Wayne Newspapers, 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550. สืบค้นวันที่ 2007-12-11
  16. ^ Mills, Elinor. "Google to offer advertisers click fraud stats." c net. 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549. เรียกดู 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549.
  17. ^ Kawamoto, Dawn. "Google hit with job discrimination lawsuit." c|net news.com. 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548.
  18. ^ CTV.ca | Google accused of ageism in reinstated lawsuit


แหล่งข้อมูลอื่น





ผู้ก่อตั้งกูเกิล โดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน

วิดีโอ YouTube


แลร์รี เพจ



ลอว์เรนซ์ แลร์รี เพจ (อังกฤษ: Lawrence "Larry" Page) เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1973 เขาเป็นนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลคู่กับ เซอร์เกย์ บริน เขาจะเป็นรับหน้าที่เป็นประธานกรรมการบริหารของบริษัทกูเกิลต่อจาก เอริก ชมิดต์ โดยจะเริ่มต้นในวันที่ 4 เมษายน 2554





การศึกษา



วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube


แลร์รี่ เพจ จบการศึกษาชั้นมัธยมจากมัธยมศึกษาอีสต์แลนซิง จากเมืองอีสต์แลนซิง จบการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน-แอนอาเบอร์ หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
เพจ เป็นบุตรของ คาร์ล วินเซนต์ เพจ (Carl Vincent Page) ศาสตราจารย์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตต และ นางกลอเรีย เพจ (Gloria Page)

ธุรกิจ



ขณะที่ศึกษาปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพจได้ความคิดจากเพื่อนของเขา แอเลกซ์ ซองคิน และภายหลังได้พบกับ เซอร์เกย์ บริน ทั้งสองคนได้พัฒนา Google Search Engine ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998
เพจและบรินได้ดำรงตำแหน่งประธานบริษัทกูเกิล จนกระทั่งปี ค.ศ. 2001 พวกเขาได้จ้าง เอริก ชมิดต์ ให้เป็นประธานกรรมการ (Chairman) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท พวกเขาได้ดำเนินธุรกิจบริษัทกูเกิลเคียงบ่าเคียงไหล่จนถึงปัจจุบัน จากนิตยสาร Forbes ในเดือนกันยนยน ปี2006 ระบุว่าเพจมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกอันดับที่ 27 เป็นตำแหน่งที่ต่ำกว่า บริน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทกับเขาเพียงแค่ตำแหน่งเดียว เมื่อไม่นานมานี้เพจและบรินยังได้ร่วมกันซื้อเครื่องบิน โบอิ้ง 767 เพื่อใช้ในงานในธุรกิจและงานส่วนตัวอีกด้วย


เซอร์เกย์ บริน



เซอร์เกย์ บริน (อังกฤษ: Sergey Brin; รัสเซีย: Сергей Михайлович Брин; เกิด 21 สิงหาคม พ.ศ. 2516) เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลร่วมกับแลร์รี เพจ
ปัจจุบัน เซอร์เกย์ บรินอยู่ในตำแหน่งประธานฝ่ายเทคโนโลยีของกูเกิล จากรายงานว่ามีทรัพย์สินส่วนตัวประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถูกจัดเป็นบุคคลที่รวยที่สุดอันดับที่ 26 ของโลก และ อันดับ 5 ของสหรัฐอเมริการ่วมกับแลร์รี เพจ ซึ่งตัวเซอร์เกย์เองยังเป็นหนึ่งในเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในโลกเช่นกัน


ประวัติการศึกษา



เซอร์เกย์เกิดที่ มอสโกในสหภาพโซเวียตในครอบครัวชาวยิว ลูกของ ไมเคิล บริน และ เจเนีย บริน นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ซึ่งเมื่อเขาอายุได้ 6 ปี ครอบครัวได้อพยพย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาในรัฐแมริแลนด์ เขาได้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ในเมืองคอลเลจพาร์ก ศึกษาในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ และต่อมาเขาได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดโดยได้ทุนการศึกษาจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งในระหว่างที่ศึกษาที่สแตนฟอร์ดนี่เอง เขาและแลร์รีได้ร่วมก่อตั้งบริษัทกูเกิล โดยปัจจุบันเขาพักการเรียนของตัวเองโดยไม่มีกำหนด


วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube





ทีมบริหาร

ผู้ร่วมก่อตั้งแลร์รี่ เพจและเซอร์เกย์ บรินได้ให้กำเนิด Google ในเดือนกันยายนปี 1998 นับแต่นั้นเป็นต้นมา บริษัทได้เติบโตขึ้นจนกระทั่งมีพนักงานมากกว่า 20,000 คนทั่วโลก พร้อมด้วยทีมผู้บริหารที่มอบเทคโนโลยีที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกให้กับอุตสาหกรรมนี้

คณะผู้อำนวยการ

เจ้าหน้าที่บริหาร

คณะผู้อำนวยการ

L. John Doerr has served as a member of our board of directors since May 1999. John has been a General Partner of Kleiner Perkins Caufield & Byers, a venture capital firm, since August 1980. John has also been a member of the board of directors of Amyris, Inc., a synthetic biology company, since May 2006, and serves on its Nominating and Governance Committee. John was previously a director of Amazon.com, Inc., an Internet retail company; Intuit, Inc., a provider of business and financial management software; Move, Inc., a provider of real estate media and technology solutions; and Sun Microsystems, Inc., a supplier of networking computing solutions. John holds a Master of Business Administration degree from Harvard Business School, and a Master of Science degree in electrical engineering and computer science, and a Bachelor of Science degree in electrical engineering from Rice University.ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอล. จอห์น ดูเออร์ »
จอห์น แอล. เฮนเนสซี่ เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารตั้งแต่เดือนเมษายน 2004 และดำรงตำแหน่งหัวหน้ากรรมการอิสระตั้งแต่เดือนเมษายน 2007 จอห์นได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดนับตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2000 ตั้งแต่ปี 1994 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2000 จอห์นดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งที่สแตนฟอร์ด รวมทั้งเป็นคณบดีของ Stanford University School of Engineering และเป็นประธานของ Stanford University Department of Computer Science ด้วย จอห์นได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (Cisco Systems, Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาอุปกรณ์สำหรับระบบเครือข่าย ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2002 และรับหน้าที่กรรมการสรรหาและกำกับดูแลของบริษัทและกรรมการเข้าซื้อกิจการ ก่อนหน้านี้ จอห์นเคยเป็นประธานคณะกรรมการบริหารของแอเทอรอส คอมมูนิเคชันส์ (Atheros Communications, Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ไร้สาย จอห์นสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่สโตนีบรูค (State University of New York, Stony Brook) และปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยวิลลาโนวา (Villanova University)ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจอห์น แอล. เฮนเนสซี่ »
Ann Mather has served as a member of our board of directors since November 2005. Ann has also been a member of the board of directors of: Glu Mobile Inc., a publisher of mobile games, since September 2005, and serves as chair of its Audit Committee; MGM Holdings Inc., a motion picture and television production and distribution company, since December 2010, and serves on its Compensation Committee; MoneyGram International, a global payment services company, since May 2010; and Netflix, Inc., an Internet subscription service for movies and television shows, since July 2010, and serves on its Audit Committee. Ann was previously a director of Central European Media Enterprises Group, a developer and operator of national commercial television channels and stations in Central and Eastern Europe; Zappos.com, Inc., a privately held, online retailer, until it was acquired by Amazon.com, Inc., an Internet retail company, in 2009; and Shopping.com, Inc., a price comparison web site, until it was acquired by eBay Inc., an e-commerce company, in 2005. From 1999 to 2004, Ann was Executive Vice President and Chief Financial Officer of Pixar, a computer animation studio. Prior to her service at Pixar, Ann was Executive Vice President and Chief Financial Officer at Village Roadshow Pictures, the film production division of Village Roadshow Limited. Ann holds a Master of Arts degree from Cambridge University and is a chartered accountant.
พอล เอส. โอเทลินี เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2004 พอลขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานบริษัทอินเทล คอร์ปอเรชั่น (Intel Corporation) ซึ่งผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2005 พอลเข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารบริษัทอินเทลตั้งแต่ปี 2002 เขายังดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของอินเทลตั้งแต่ปี 2002 จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2005 อีกด้วย นับตั้งแต่ปี 1974 ถึง 2002 พอลเข้ารับตำแหน่งหลายตำแหน่งที่อินเทล รวมทั้งเป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของอินเทล อาร์คิเทคเจอร์ กรุ๊ป (Intel Architecture Group) และเป็นรองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของกลุ่มการขายและการตลาด พอลสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์ และปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพอล เอส. โอเทลินี »
เค. ราม ศรีราม เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารตั้งแต่เดือนกันยายนปี 1998 รามเป็นหุ้นส่วนบริหารของ Sherpalo Ventures LLC บริษัทร่วมลงทุน ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2000 ก่อนที่จะเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 1998 ถึงกันยายน ปี 1999 รามดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจที่บริษัท อะเมซอนดอทคอม (Amazon.com, Inc.) บริษัทค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว รามเป็นประธานบริษัท Junglee Corporation บริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีฐานข้อมูล ซึ่งอะเมซอนดอทคอมเข้าซื้อกิจการในปี 1998 รามเป็นสมาชิกยุคแรกเริ่มของทีมผู้บริหารที่ Netscape Communications Corporation นอกจากนี้ เขายังเป็นกรรมการทรัสตีของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดอีกด้วย รามสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมาดราส (University of Madras) ประเทศอินเดียข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเค. ราม ศรีราม »
เชอร์ลีย์ เอ็ม. ทิลต์แมน เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2005 เชอร์ลีย์ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2001 ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 1986 ถึงมิถุนายนปี 2001 เธอเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 1988 ถึงมิถุนายนปี 2001 เชอร์ลีย์รับหน้าที่นักวิจัยที่ Howard Hughes Medical Institute ในปี 1998 เชอร์ลีย์ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ก่อตั้งสถาบัน Lewis-Sigler Institute for Integrative Genomics ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันด้วย เชอร์ลีย์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาชีวเคมีจากมหาวิทยาลัยเทมเพิล (Temple University) และปริญญาตรีเกียรตินิยมวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาเคมีจากมหาวิทยาลัยควีนส์ (Queen's University)

เจ้าหน้าที่บริหาร

แลร์รี่ เพจ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Google แลร์รี่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานประจำวันของ Google และเป็นผู้นำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีของบริษัท เขาเป็นผู้ก่อตั้ง Google ร่วมกับเซอร์เกย์ บรินในปี 1998 และศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดไปด้วยพร้อมกัน แลร์รี่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนแรกของบริษัทจนถึงปี 2001 โดยเขาได้สร้างความเติบโตและผลกำไรให้แก่บริษัทจนบริษัทมีพนักงานมากกว่า 200 คน ตั้งแต่ปี 2001 ถึง 2011 แลร์รี่เป็นประธานด้านผลิตภัณฑ์
แลร์รี่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนวิทยาเขตแอนอาร์เบอร์ และระดับปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งชาติ (National Advisory Committee NAC) แห่งวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน และได้รับรางวัล Marconi Prize อันทรงเกียรติร่วมกับเซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้ง Google ในปี 2004 เขาเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของคณะกรรมการในโครงการ X PRIZE และได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมแห่งชาติ (National Academy of Engineering) ในปี 2004

เอริค อี. ชมิดท์
ประธานบริหาร

ตั้งแต่เข้าร่วมทำงานกับ Google ในปี 2001 เอริค ชมิดช์ได้มีส่วนร่วมในการเติบโตของบริษัทจากจุดเริ่มต้นในซิลิกอนวัลเลย์จนมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานบริหาร เขาทำหน้าที่รับผิดชอบด้านกิจการภายนอกของ Google อันได้แก่ การสร้างพันธมิตรและขยายสัมพันธภาพทางธุรกิจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น การขยายโครงข่ายสู่หน่วยงานภาครัฐ และการเป็นผู้นำความคิดด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการให้คำปรึกษาแก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและเจ้าหน้าที่อาวุโสในประเด็นของธุรกิจและนโยบาย
นับตั้งแต่ปี 2001-2011 เอริคดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Google โดยดูแลกลยุทธ์ทางเทคนิคและกลยุทธ์ธุรกิจของบริษัท เคียงข้างไปกับสองผู้ก่อตั้งคือ เซอร์เกย์ บรินและแลร์รี่ เพจ ภายใต้การนำของเอริค Google ได้ขยายโครงสร้างพื้นฐานและความหลากหลายในผลิตภัณฑ์มากขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมไว้ได้อย่างเข้มแข็ง
ก่อนจะมาร่วมงานกับ Google เอริคเป็นประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Novell และเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีที่ Sun Microsystems, Inc. ก่อนหน้านี้ เขาเป็นพนักงานวิจัยที่ Xerox Palo Alto Research Center (PARC), Bell Laboratories และ Zilog เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และระดับปริญญาโทและเอกสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กเลย์
เอริคเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประธานาธิบดีและคณะกรรมการที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีในสหราชอาณาจักร เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมแห่งชาติ (National Academy of Engineering) ในปี 2006 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Academy of Arts and Sciences) ในปี 2007 นอกจากนี้ เขายังเป็นประธานคณะกรรมการของมูลนิธินิวอเมริกา (New America Foundation) และตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา เขาได้เป็นทรัสตีของ Institute for Advanced Study ในพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซีย์

เซอร์เกย์ บริน
ผู้ร่วมก่อตั้ง

เซอร์เกย์ บรินเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Google Inc. ในปี 1998 ทุกวันนี้ เขาทำหน้าที่ควบคุมดูแลโครงการพิเศษ นับตั้งแต่ปี 2001 จนถึงปี 2011 เซอร์เกย์ดำรงตำแหน่งประธานด้านเทคโนโลยี ซึ่งเขาได้รับผิดชอบการปฏิบัติงานประจำวันของบริษัทร่วมกับแลร์รี่ เพจและเอริค ชมิดช์
เซอร์เกย์ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมสาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ที่คอลเลจพาร์ค ปัจจุบันเขาอยู่ระหว่างลาพักการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากที่นี่ เซอร์เกย์เป็นสมาชิกของสถาบันวิศวกรรมแห่งชาติ (National Academy of Engineering) และได้รับทุนวิจัยจาก National Science Foundation Graduate Fellowship
เซอร์เกย์มีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งได้แก่ Extracting Patterns and Relations from the World Wide Web, Dynamic Data Mining: A New Architecture for Data with High Dimensionality ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับแลร์รี่ เพจ, Scalable Techniques for Mining Casual Structures, Dynamic Itemset Counting and Implication Rules for Market Basket Data และ Beyond Market Baskets: Generalizing Association Rules to Correlations

นิเคช อาโรรา
รองประธานอาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายธุรกิจ

นิเคชดูแลด้านรายได้และส่วนปฏิบัติงานด้านลูกค้าทั้งหมด รวมทั้งด้านการตลาดและการเป็นพันธมิตร นับตั้งแต่มาร่วมงานกับ Google ในปีพ.ศ. 2004 เขาได้รับผิดชอบตำแหน่งต่างๆ ในบริษัทนี้มามาก ก่อนหน้านี้ นิเคชรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลส่วนปฏิบัติงานด้านการขายตรงของ Google ในระดับโลก นอกจากนี้ เขายังได้พัฒนาและจัดการส่วนปฏิบัติงานของบริษัทในตลาดยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา รวมทั้งรับผิดชอบด้านการสร้างและขยายพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในภูมิภาคดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้และผู้โฆษณาของ Google ซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ก่อนจะมาร่วมงานกับ Google เซอร์เกย์ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและเป็นคณะกรรมการบริหารที่ T-Mobile Europe ขณะทำงานอยู่ที่นั่น เขาได้เป็นผู้นำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์, เทอร์มินัล, แบรนด์ และกิจกรรมการตลาดทั้งหมดของ T-Mobile Europe ในปีค.ศ. 1999 เขาเริ่มทำงานที่ Deutsche Telekom และได้ก่อตั้งบริษัท T-Motion PLC บริษัทสาขาของ T-Mobile International ที่ดำเนินธุรกิจด้านมัลติมีเดียผ่านโทรศัพท์มือถือ ก่อนจะมาร่วมงานกับ Deutsche Telekom นิเคชเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารหลายตำแหน่งที่บริษัท Putnam Investments และ Fidelity Investments ในบอสตัน
นิเคชจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยบอสตันและปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ (MBA) จากมหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์น โดยมีผลการศึกษาในระดับยอดเยี่ยมจากทั้งสองมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ เขายังได้รับประกาศนียบัตรนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ได้รับการรับรอง (CFA) ด้วย ในปี 1989 นิเคชได้รับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งพาราณสี (Institute of Technology in Varanasi) ประเทศอินเดีย

เดวิด ซี. ดรัมมอนด์
รองประธานอาวุโสด้านการพัฒนาบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกฎหมาย

เดวิด ดรัมมอนด์ร่วมงานกับ Google ในปี 2002 โดยเริ่มจากการเป็นรองประธานด้านการพัฒนาบริษัท ในปัจจุบันเขาเป็นรองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย เขานำทีมระดับโลกของ Google ในด้านกฎหมาย รัฐสัมพันธ์ การพัฒนาองค์กร (โครงการ M&A และการลงทุน) และการพัฒนาธุรกิจใหม่ (ความร่วมมือทางยุทธศาสตร์และโอกาสในการให้ใบอนุญาต)
เดวิดเข้ามาร่วมงานกับ Google ในปี 1998 ในฐานะหุ้นส่วนในกลุ่มธุรกรรมองค์กรที่ Wilson Sonsini Goodrich and Rosati ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายชั้นนำของประเทศที่ทำงานกับธุรกิจเทคโนโลยี เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายนอกองค์กรคนแรกของ Google และทำงานกับแลร์รี่ เพจและเซอร์เกย์ บรินเพื่อจดทะเบียนตั้งบริษัทและจัดหาเงินทุนรอบแรก ระหว่างรับตำแหน่งที่ Wilson Sonsini นั้น เดวิดได้ทำงานกับบริษัทด้านเทคโนโลยีหลากหลายแห่ง โดยช่วยให้บริษัทเหล่านั้นจัดการกับธุรกรรมที่ซับซ้อน เช่น การควบรวมกิจการ การเข้าครอบครองกิจการ และการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน
เดวิดได้รับปริญญาตรีด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซานตาคลารา (Santa Clara University) และ JD จากโรงเรียนกฎหมายสแตนฟอร์ด

แพทริก พิเชตเต้
รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน

แพทริก พิเชตเต้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินของ Google โดยมีประสบการณ์เกือบ 20 ปีในระดับปฏิบัติการและระดับบริหารด้านการเงินในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งรวมถึงประสบการณ์ 7 ปีที่เบลล์ แคนาดา (Bell Canada) ตั้งแต่ปี 2001 ในตำแหน่งรองประธานบริหารด้านการวางแผนและการบริหารประสิทธิภาพ ในการทำงานที่เบลล์ แคนาดา เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารหลายตำแหน่ง รวมถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (CFO) ตั้งแต่ปี 2002 ถึงสิ้นปี 2003 และมีบทบาทสำคัญในการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมขนาดใหญ่ที่สุดในแคนาดา และการโยกย้ายไปเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่แบบ IP ในระดับชาติของหน่วยงานดังกล่าว ก่อนที่จะร่วมงานกับเบลล์ แคนาดา แพทริกเคยเป็นหุ้นส่วนที่แมคเคนซีแอนด์คัมปานี (McKinsey & Company) โดยเป็นหัวหน้าของ North American Telecom Practice ของแมคเคนซี นอกจากนี้ เขายังดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงินของ Call-Net Enterprises Inc. ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของแคนาดาอีกด้วย
แพททริคเคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของบริษัท Amyris, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทชีวสังเคราะห์ มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2010 และรับตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบบัญชี และคณะกรรมการการพัฒนาภาวะผู้นำและการพิจารณาเงินชดเชยของบริษัท นอกจากนี้ เขายังได้ดำรงตำแหน่งกรรมการขององค์กรไม่แสวงกำไรสองแห่งคือ Engineers Without Borders (แคนาดา) และ Trudeau Foundation แพทริกได้รับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจจาก Université du Québec à Montréal และได้รับทุนการศึกษา Rhodes ในการเข้าศึกษาระดับปริญญาโทสาขาปรัชญา เศรษฐศาสตร์และการเมืองที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น