ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 พฤษภาคม 2554

ประเทศภูฏาน

                         ประเทศภูฏาน





ภูฏาน (Bhutan) [พู-ตาน] หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน


ประวัติความเป็นมาของประเทศภูฏาน


ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุตฺตาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน)


ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)


ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุตฺตาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน)



ประวัติศาสตร์


ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453



การเมือง


มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 ของราชวงศ์วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 161 คน


สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์


ภาพ:Jikme.jpg


สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก



ในสมัยศตวรรษที่ 17 นักบวช ซับดุง นาวัง นำเยล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 นักบวชซับดุงได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนาและมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyal Wangchuck) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก



การแบ่งเขตการปกครอง


ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร (administrative zones - dzongdey) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น เขต (districts - dzongkhag) รวมทั้งหมด 20 เขต เมืองหลวงคือ เมือง ทิมพู



แผนที่แสดงเขตของประเทศภูฏานเขตบุมทัง



ภาพ:444555.jpg


1.เขตบุมทัง 2.เขตชูคา 3.เขตดากานา 4.เขตกาซา 5.เขตฮา 6.เขตลฮุนต์ชิ 7.เขตมองการ์ 8.เขตพาโร 9.เขตเปมากัตเซล 10.เขตพูนาคา 11.เขตซัมดรุปจงคาร์ 12.เขตซัมชิ 13.เขตซาร์ปัง 14.เขตทิมพู 15.เขตตาชิกัง 16.เขตตาชิยังต์ซี 17.เขตตงซา 18.เขตชิรัง 19.เขตวังดีโพดรัง 20.เขตเชมกัง



สัญลักษณ์ประจำชาติ


  • เพลงชาติ : เพลงชาติของภูฏานแต่งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1966


  • สัตว์ประจำชาติ : ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร

  • ต้นไม้ : ต้นสนไซปรัส

  • ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า


ภาพ:11111111.jpg



ธงชาติของภูฏานมีเส้นทแยงมุมแบ่งสองส่วน



  • สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
  • สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
  • มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า
  • สีขาวที่แซมบนตัวมังกร หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ของชนชาติ และรัตนะที่ติดอุ้งเท้ามังกรก็คือความอุดมสมบูรณ์ของประเทศนั่นเอเเละ ท่าที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน


ภูมิประเทศ


ประเทศภูฏานตั้งอยู่ในแถบขุนเขาหิมาลัยระหว่างอินเดียกับจีน (ติดกับทิเบต) เป็นประเทศที่มีเทือกเขาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามว่า "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย" เดิมเคยผูกพันอยู่กับทิเบต แต่ แยกออกมาเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ ค.ศ.1630 ภูฏาน เป็นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่ 47,000 ตารางกิโลเมตร มีสถานที่ท่องเที่ยวเหมาะกับคนที่ชอบธรรมชาติที่งดงามและวัฒนธรรมดั้งเดิม


ภูมิอากาศ


เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากศแบบหนาวเทือกเขา

อากาศ กลางวัน 25 - 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 - 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ

ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง


ประชากร




จำนวนประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน

อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 (เมื่อปี พ.ศ. 2546)

เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่ ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้ กลุ่มประชากรของภูฏาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คือ กลุ่มดรุกปา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเชื้อสายธิเบต กลุ่มซังลา ที่ถือว่ามีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากจะแยกออกตามภาษาท้องถิ่นที่ใช้ที่มีประมาณ 11 ภาษา กลุ่มนี้จะอาศัยทางทิศตะวันออกของประเทศ กลุ่ม เนปาลี คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศภูฏาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13% คือชาวธิเบต ชาวสิกขิม และชาวอินเดีย


ศาสนา


ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่า วัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3% มีจำนวนพระสงฆ์ราว 6,000 องค์ ซึ่งรัฐถวายความอุปการะจัดหาสิ่งของจำเป็นพื้นฐานหรือปัจจัย 4 แต่ท่านก็สามารถที่จะหารายได้พิเศษจากการทำพิธีทางศาสนา ทั้งภายในวัดหรือไปตามกิจนิมนต์ที่บ้าน ท่านมีความเคร่งครัดไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา หากทว่าฉันมื้อเย็นได้ ซึ่งต่างจากพระในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสงฆ์อีกราว 3,000 องค์ ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีของรัฐ แต่มีเอกชนเป็นอุปัฏฐาก


วัฒนธรรม


การแต่งกายประจำชาติ พระมหากษัตริย์จะผ้าผืนใหญ่พันองค์ ซึ่งผ้าพันกายนี้เป็นธรรมเนียมของบุรุษภูฏาน เพื่อแสดงถึงตำแหน่งฐานะ เช่นว่า ผ้าสีขาวมีขอบจะเป็นของสามัญชน ผู้พิพากษาจะพันด้วยผ้าสีเขียว สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ทรงใช้สีส้มเหลือง เช่นเดียวกันกับพระสังฆราชาแห่งรัฐ ภาษาประจำชาติ คือภาษาฌงฆะ ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า ฆีระ (Khira)


วิถีชีวิตเเละการกินอยู่


ชาวภูฏาน 80 เปอร์เซ็นต์ ทำการเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์ ความงดงามแห่งทิวทัศน์ชนบทนั้น ทำให้นักท่องเที่ยวแทบไม่เชื่อสายตา บ้านเรือนที่ตกแต่งประดับประดากรอบหน้าต่างอย่างสดใส หลังคามุงด้วยไม้ ทุ่งหญ้าเขียวขจีแต่งแต้มด้วยไม้ดอก ป่าต้นโอ๊ค รั้วไม้ไผ่สาน สะพานมีหลังคาคลุม ผู้ชายก้มๆ เงยๆ ทำงานกลางทุ่ง ส่วนผู้หญิงทอผ้าอยู่กลางแจ้งโดยเอาทารกใส่ไว้กับถุงผ้าข้างอานม้า

ชาวภูฏานจะบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก มีอาหารประจำชาติเรียกว่า เฮมาดัทสิ ที่มีวัตถุบส่วนใหญ่ทำมาจากพริก เนื้อที่ชาวภูฏานโปรดปรานก็คือ เนื้อจามรี (คล้ายเนื้อวัว) และหมู ส่วนไก่นั้นรองลงมา ในฤดูร้อนนั้นจะเห็นมันหมูแล่เป็นชิ้นยาวๆ ห้อยแขวนตากแห้งไว้กับขอบหน้าต่างแทบทุกบ้าน ถือเป็นอาหารอันโอชะของชาวภูฏาน

ด้านเครื่องดื่ม น้ำชาเป็นที่นิยมกันทั่วไป แต่ประชากรแถบภาคกลางกับตะวันออกจะต้มกลั่น “อารา” สุรา 20 ดีกรี ไว้ดื่มกันอย่างกว้างขวาง ส่วนนมสดยังไม่แพร่หลายมากนัก มักจะเอาไปทำเป็นเนยมากกว่า ผู้นิยมดื่มเบียร์พื้นเมืองก็จะมีเบียร์ตราหมีแพนด้าแดง เรียกว่ามีแอลกอฮอล์ทุกชนิดแหละครับ ทั้งวิสกี้ ยิน รัม ไวน์


ธรรมเนียมการต้อนรับเเขก


แต่ที่อาจแตกต่างกันบ้าง ก็คือธรรมเนียมการรับเชิญไปกินอาหารที่บ้าน โดยเริ่มแรกแขกจะได้รับเครื่องดื่มมาต้อนรับ อาจเป็นน้ำชาหรือสุรา ซึ่งโดยมารยาทเราจะต้องดื่มหรือจิบให้เห็น การดื่มเรียกน้ำย่อยนี้ อาจกินเวลายาวนานกว่าชั่วโมงหากเป็นแขกที่ไม่ค่อยคุ้นเคย เจ้าภาพจะไม่อยู่รับรองพูดคุย แต่จะหลบเข้าไปข้างในจนกว่าจะได้เวลาอาหารมาเสิร์ฟ เมื่อนำอาหารออกมาแล้วเจ้าภาพจะไม่ร่วมกินด้วย และการคุยกันในระหว่างแขกรับประทานก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ยิ่งกว่านั้นหลังจากรับประทานเสร็จ แขกจะร่ำลากลับทันที ซึ่งต่างจากประเพณีชนตะวันตกที่จะต้องมีการสนทนาปราศรัยกันอีกนาน แต่แขกของภูฏานจะลุกกลับทันทีที่กลืนคำสุดท้ายเสร็จ บางครั้งแขกผู้อาวุโสที่สุดจะเป็นผู้ให้สัญญาณกลับ ซึ่งธรรมเนียมนี้แขกต่างชาติมักไม่รู้และรีๆรอๆพูดคุยต่อ ก่อให้เกิดความอิหลักอิเหลื่อแก่ เจ้าภาพ

ภาพ:Drukair.jpg


การเดินทางสู่ภูฏาน


สายการบินที่เข้าประเทศภูฎานได้ คือสายการบินแห่งชาติของภูฎานเองมีชื่อว่า Druk Air จากกรุงเทพฯ หากไปสายการบินอื่น ต้องไปต่อที่อินเดีย โดยที่กัลลกัตตาจะมี 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ส่วนกรุงนิวเดลีและกาฐมาณฑุ มีแห่งละ 2 เที่ยวบิน


วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube







ภูฏาน (Bhutan) (อ่านว่า พู-ตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน
ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon) " นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"
ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)
ที่ตั้งประเทศภูฏาน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบต ที่เหลือติดกับอินเดีย ไม่มีทางออกทะเล

พื้นที่
38,394 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวงกรุงทิมพู (Thimphu)
เมืองสำคัญต่างๆเมืองพาโร (Paro) เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ
เมืองพูนาคา (Punaka)เป็นเมืองที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ เป็นที่ตั้งของพระราชวังฤดูหนาว และเป็นที่ราบสำหรับทำการเกษตร
ประชากร752,700 คน (ปี 2548) ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่ 1) ชาชอฟ (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก 2) นาล็อบ (Ngalops) ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก และ 3) โชซัม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้
ศาสนาศาสนาพุทธมหายาน นิกายกายุบปา (Kagyupa) ซึ่งมีลามะเช่นเดียวกับ ทิเบต ร้อยละ 75 (ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติชาชอฟ และนาล็อบ) และศาสนาฮินดู ร้อยละ 25 (ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติโชซัมทางภาคใต้ของประเทศ)
ภาษาซงข่า (Dzongkha) เป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษใช้เป็นสื่อกลางในสถาบันการศึกษาและในการติดต่อธุรกิจ ภาษาทิเบตและภาษาเนปาลมีใช้ในบางพื้นที่
การศึกษาอัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 42.2 อัตราการรู้หนังสือในเพศชายร้อยละ 46.2 และเพศหญิงร้อยละ 28.1
วันชาติ17 ธันวาคม (พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนา สมเด็จพระราชาธิบดี Ugyen Wangchuck ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของภูฏาน
ระบบการปกครองราชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขปกครองประเทศ ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ เคซาร์ นัมเกล วังชุก (His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck) ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2549

การเมืองการปกครอง
เดิมภูฏานมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล จนกระทั่งเมื่อปี 2541 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ ซิงเย วังชุก (Jigme Singye Wangchuck) ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้มีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะมนตรีขึ้นบริหารประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองภูฏาน เป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว และไม่ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลอีกต่อไป

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ในสมัยศตวรรษที่ 17 นักบวช ซับดุง นาวัง นำเยล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 นักบวชซับดุงได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมือง Trongsa ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนาและมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์ Wangchuck ปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ เคซาร์ นัมเกล วังชุก
สังคมและวัฒนธรรม
สังคมของภูฏานเป็นสังคมเกษตรกรรมที่เรียบง่าย ประชาชนดำเนินชีวิตตามวิถีทางพุทธศาสนานิกายมหายาน และยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาช้านาน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากพระราโชบายของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ ซิงเย วังชุก พระราชบิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันที่ต้องการให้ภูฏานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของตนไว้ เช่น การส่งเสริมให้ประชาชนภูฏานใส่ชุดประจำชาติ การอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น และสถาปัตยกรรมแบบภูฏาน ทั้งนี้ แม้จะมีนโยบายเปิดประเทศแต่ภูฏานก็สามารถอนุรักษ์จารีตทางสังคมไว้ได้

สถาบันกษัตริย์ยังคงเป็นสถาบันที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวภูฏาน โดยเฉพาะสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ ซิงเย วังชุก เป็นที่เคารพรักของประชาชนมาก เพราะนอกจากพระองค์จะเป็นกษัตริย์นักพัฒนาแล้ว ความเป็นกันเองของพระองค์ในการเสด็จเยี่ยมราษฎรและการเข้าถึงประชาชน ทำให้พระองค์ทรงเป็น “กษัตริย์ของประชาชน” ของภูฏาน อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญในการที่จะเปลี่ยนแปลงภูฏานให้เป็นสังคมสมัยใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยทรงใช้หลัก “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) แทนการวัดการพัฒนาจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ ซิงเย วังชุก ทรงริเริ่มปรัชญาในการพัฒนาประเทศที่เรียกว่า “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” โดยความคิดดังกล่าวเน้นการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีความสุขและความพึงพอใจมากกว่าวัดการพัฒนาด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ทั้งนี้ พระองค์ได้ข้อสรุปจากบทเรียนความผิดพลาดในการพัฒนาของโลกในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา และเห็นว่าประเทศจำนวนมากเข้าใจว่าการพัฒนาคือ การแสวงหาความสำเร็จทางวัตถุเพียงอย่างเดียว ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้แลกความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจกับการสูญเสียวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ดีทางธรรมชาติ และเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งหลายประเทศได้พิสูจน์แล้วว่าประชาชนไม่ได้มีความสุขที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติก็มิได้ปฏิเสธการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่การพัฒนาด้านต่างๆ จะต้องสมดุลกัน โดยรัฐบาลภูฏานได้พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ประชาชนสามารถแสวงหาและได้รับความสุขโดยยึดหลักแนวคิดดังกล่าวเป็นพื้นฐานเพื่อให้สามารถรับมือกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองต่อสิ่งท้าทายของโลก โดยมีหลักสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน 2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 3) การส่งเสริมวัฒนธรรม และ 4) ธรรมรัฐ ซึ่งหลักการทั้ง 4 ได้ถูกบรรจุอยู่ในนโยบายและแผนงานของรัฐบาลทุกด้าน

ในทางปฏิบัติ ภูฏานได้บรรจุแนวคิดนี้ให้อยู่ในแผนพัฒนาประเทศระยะ 5 ปี เมื่อปี 2542 (แผนพัฒนาประเทศเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2504) โดยเน้นการพัฒนาในทุกสาขาของสังคมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญด้านสาธารณสุข การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน การขจัดปัญหาสังคมและความยากจน พร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยทั้งหมดจะดำรงอยู่ด้วยกันในลักษณะกลมกลืนตามหลักพุทธศาสนามหายาน

ภูฏานให้ความสำคัญกับองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยเห็นว่าการเข้าเป็นสมาชิก UN (เดือนกันยายน 2514) ทำให้ภูฏานมีความสัมพันธ์กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้โดยมิต้องมีการจัดตั้งสถานทูตในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งทำให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นประโยชน์ มากที่สุด รวมทั้งยังสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ของประเทศต่างๆ โดยผ่านการช่วยเหลือจากนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศในเรื่องที่เป็นความต้องการของทางภูฏานได้ด้วย โดยเฉพาะในด้านของการพัฒนานอกจากนี้ ภูฏานเป็นสมาชิกสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ South Asian Association for Regional Cooperation (SAARC) โดยเห็นว่าสมาคมดังกล่าวเป็นเวทีสำหรับความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่เป็นรูปธรรม เป็นการแสดงถึงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศในภูมิภาคที่มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน แต่ประสงค์จะมีความร่วมมือกันในเรื่องที่เป็นความสนใจร่วมกัน และมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ การส่งเสริมสันติภาพ ความก้าวหน้า และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค นอกจากนั้น ภูฏานได้เป็นสมาชิกใน Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC) และ Asia Cooperation Dialogue (ACD) เพื่อขยายบทบาทและความร่วมมือของภูฏานในทวีปเอเชียให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
หน่วยเงินตราเงินงุลตรัม (Ngultrum) อัตราแลกเปลี่ยน 44งุลตรัม เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 รูปี เท่ากับ 1 บาท (เงินงุลตรัมมีค่าเท่ากับเงินรูปีของอินเดีย และเงินรูปีของอินเดียก็สามารถใช้ได้ทั่วไปในภูฏาน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น