ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

14 ตุลาคม 2553

กฏหมายน่ารู้

กฏหมายน่ารู้



ท่านจะขอคำปรึกษาเรื่องกฎหมายเข้าเมืองได้ที่ไหน
            หลายท่านมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายเข้าเมือง เพราะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนเข้าใจยาก
หรือบางท่านอาจเคยทำผิดกฎหมายมาก่อนและต้องการทราบว่าจะแก้ตัวได้อย่างไร
ผู้เขียนขออนุญาตให้ข้อคิดเกี่ยวกับการปรึกษาทางด้านกฎหมายกับทุก ๆ ท่านว่า
1. ท่านอาจปรึกษาเพื่อนหรือคนรู้จักได้ แต่ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ

ดังนั้นเขาอาจจะให้ข้อมูลท่านผิด ๆ เพราะกรณีของเขากับของท่านต้องมีข้อแตกต่าง
กันแน่นอน และความแตกต่างนี้อาจเป็นจุดสำคัญทำให้เรื่องของเพื่อนกับของท่านไม่ใช่
กรณีเดียวกัน นอกจากนี้ผู้เขียนสังเกตว่าข้อแนะนำระหว่างเพื่อนคนไทยด้วยกัน
ส่วนใหญ่มักจะเป็นประเภท “ได้ยินมาว่า” ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผิดพลาดเกือบทั้งสิ้น
2. แม้ทนายบางคนก็อาจไม่มีความรู้ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง หรือเขาอาจจะมีปัญหาใน

การสื่อสารกับท่าน ดังนั้นหากเขามาบอกว่าจะทำอย่างโน้นอย่างนี้ได้ แต่ต้องเก็บเงิน
เป็นจำนวนมากก่อนสำหรับค่าทำเรื่อง ท่านก็ควรสงสัยทันที อย่าเชื่อใครเพียงเพราะ
เขาพูดในสิ่งที่ท่านอยากจะได้ยิน ขอให้ท่านหัดเป็นคนขี้สงสัย และขี้ระแวงอยู่เสมอ ๆ
 จะได้ไม่ถูกหลอกง่าย ๆ
3. หากท่านไม่แน่ใจในผู้ให้คำปรึกษาคนใดคนหนึ่ง ท่านอาจไปปรึกษาคนอื่นอีกก็ได้

(second opinion) แม้ท่านจะต้องเสียค่าปรึกษาสองครั้ง แต่ก็อาจจะคุ้มกว่าเพื่อความมั่นใจ
แต่ทนายหลายคนมักจะให้คำปรึกษาครั้งแรกโดยไม่คิดเงิน
4. ในกรณีที่ท่านพิจารณาแล้วว่าผู้ที่จะเป็นตัวแทนดำเนินเรื่องให้ท่านคนนี้เชื่อถือได้

ท่านก็ไม่ควรจ่ายเงินให้เขาทั้งหมดทีเดียว เพราะหากเรื่องไม่เป็นผลดังที่เขาสัญญาไว้
ท่านอาจต้องเสียเงินฟรี และเสียเวลาอีกด้วย
5. ท่านต้องเก็บสำเนาเอกสารหลักฐานทุกชิ้นไว้ให้ดี โดยเฉพาะหนังสือเดินทาง

หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรให้เอกสารตัวจริงแก่ใคร ให้เพียงสำเนาก็ได้ และท่านต้องคอย
ติดตามเรื่องของตัวเองเสมอ ๆ อย่างปล่อยให้เรื่องหรือเอกสารหายไปได้
6. วิธีที่ท่านจะให้โอกาสตัวเองให้ประสบความสำเร็จในการสมัครวีซ่าได้มากที่สุด

คือการหาข้อมูลด้วยตัวเองก่อนที่จะปรึกษาทนายหรือผู้อื่น เพราะการที่ท่านมีข้อมูล
พร้อมทั้งปัญหาและข้อสงสัยอยู่บ้างแล้ว จะทำให้การปรึกษามีประสิทธิภาพดีขึ้น
สำหรับท่านที่ภาษาอังกฤษยังไม่คล่อง ท่านสามารถอ่านคู่มือฉบับภาษาไทย
และคำถามต่าง ๆ ที่อาจเกี่ยวกับตัวท่านจากเว็บไซต์ของชมรม ฯ
ได้ที่ thaiwomensorganisation.com ส่วนท่านที่ภาษาอังกฤษดีแล้ว หาข้อมูลได้
จากเว็บไซต์ของโฮมออฟฟิสได้โดยตรงที่ http://www.bia.homeoffice.gov.uk/
7. สำหรับท่านที่มีความจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายเข้าเมือง

ผู้เขียนขอแนะนำองค์กรต่อไปนี้
1. Immigration Advisory Service (IAS)
Head Office
County House
190 Great Dover Street
London
SE1 4YB
Tel: 0844 974 4000 (หมายเลขนี้จะส่งให้ท่านได้ไปพูดกับสาขาที่ใกล้ที่สุดของท่าน) 
E-mail: advice@iasuk.org

http://www.iasuk.org/non-profit-fee-paying-service.aspx
องค์กรนี้ให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายเข้าเมืองทั่วไป และมีสาขาหลายแห่ง
ท่านสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ขององค์กร หากท่านที่มีสิทธิรับเงิน
สงเคราะห์ของรัฐเพื่อช่วยเหลือค่าทนาย (Legal aid) จะได้รับคำปรึกษาฟรี
แต่หากท่านไม่มีสิทธิดังกล่าว ท่านก็อาจต้องจ่ายเงินค่าปรึกษา แต่องค์กร
นี้เป็นองค์กรการกุศล ไม่ใช่หน่วยงานที่ค้ากำไร ดังนั้นค่าปรึกษาจะถูกกว่า
ของทนายความทั่วไป และที่สำคัญ เป็นองค์กรที่ท่านไว้ใจได้ว่าเป็นองค์กร
ที่มีความรู้ในเรื่องกฎหมายเข้าเมืองจริงและดีกว่าที่อื่นๆ แต่ปัญหาก็คือ
มีคนใช้บริการมาก ดังนั้นท่านต้องพยายามติดต่อกับองค์กรนี้ให้ได้
ถึงแม้จะต้องโทรหลายๆ ครั้งก็ตาม ท่านควรติดต่อแต่เนิ่นๆ เพื่อนัดพบ
และเมื่อไปพบเจ้าหน้าที่ ท่านต้องเตรียมเอกสารมาให้ครบถ้วน
พร้อมทั้งนำเพื่อนที่จะช่วยแปลมาด้วย หากภาษาอังกฤษของท่านยัง
ไม่คล่อง
2 UK Council for International Student Affairs (UKCISA)
9-17 St Alban’s Place
London N1 ONX
แฟกซ์: 020 7288 4360
เว็บไซต์: www.ukcisa.org.uk

องค์กรนี้ช่วยเหลือนักเรียนต่างชาติและมีแผ่นพับที่น่าสนใจเกี่ยวกับ
ปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนหลายอย่าง นักเรียนที่ต้องการคำปรึกษา
ควรติดต่อกับสำนักงาน NUS ที่โรงเรียนก่อน หรือในกรณีจำเป็นจริง ๆ
ท่านติดต่อหมายเลขโทรศัพท์สายกลางที่ 020 7107 9922 ได้
(สายเปิดวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ เวลา 13.00 น ถึง 16.00 น)
3 ศูนย์กฎหมาย (Law Centres)
ในอังกฤษ และเวลส์
Law Centres’ Federation
Third Floor
293-299 Kentish Town Road
London, NW5 2TJ
Tel: 020 7428 4400
Fax: 020 7428 4401
Email: info@lawcentres.org.uk
Website: www.lawcentres.org.uk
ในสก๊อตแลนด์
Secretary
Scottish Association of Law Centres (SALC)
c/o Govan Law Centre
47 Burleigh Street
Govan, Glasgow, G51 3LB
Tel: 0141 440 2503
Email: m@govanlc.com
Website: www.govanlc.com
ในไอร์แลนด์เหนือ
Law Centre (NI) Central Office
124 Donegal Street
Belfast, BT1 2GY
Tel: 028 9024 4401
Fax: 028 9023 6340
Email: admin.belfast@lawcentreni.org.uk
Website: www.lawcentreni.org
ใน (NI) Western Area Office
9 Clarendon Street
Derry, BT48 7EP
Tel: 028 7126 2433
Fax: 028 7126 2343
Email: admin.derry@lawcentreniwest.org.uk
ศูนย์กฎหมายมักจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายเข้าเมือง

แต่ศูนย์กฎหมายอาจรับปรึกษาได้เฉพาะคนที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ใน
เขตของเขาเท่านั้น ดังนั้นท่านต้องติดต่อกับศูนย์กฎหมายใกล้บ้าน
ก่อนว่าเขาจะรับเรื่องของท่านได้หรือไม่ หากได้ เขาก็จะให้คำปรึกษาฟรี
****************************************************************

การขอวีซ่านักท่องเที่ยวในประเทศไทย
บทที่ 3 กฎหมายเข้าเมืองและการเข้าถือสัญชาติ
ส่วนที่ 3 B การขอวีซ่านักท่องเที่ยวในประเทศไทย

3B.1 วีซ่าท่องเที่ยว (Visitors visas)
3B.2 ประเภทของวีซ่าท่องเที่ยว
3B.3 กำหนดระยะเวลาของวีซ่าท่องเที่ยว
3B.4 วีซ่าท่องเที่ยวแบบเดินทางเข้าประเทศได้ครั้งเดียว
3B.5 อยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน
3B.6 การต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว
3B.7 ใช้เดินทางได้กี่ครั้ง
3B.8 ข้อบังคับอื่น ๆ
3B.8.1 ค่าเลี้ยงชีพ
3B.8.2 การรับรอง
3B.8.3 การปฏิเสธวีซ่า
3B.9 กฎข้อบังคับและประเด็นที่เจ้าหน้าที่จะพิจารณาสำหรับวีซ่าประเภทต่าง ๆ
3B.9.1 วีซ่าท่องเที่ยวทั่วไป (General visitors)
3B.9.2 วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมญาติ (Visiting family)
3B.9.2.1 ใครคือญาติ
3B.9.2.2 สิทธิอุทธรณ์
3B.9.3 วีซ่าท่องเที่ยวสำหรับเด็ก (Child visitors)
3B.9.3.1 การเดินทาง การต้อนรับ และการดูแลอย่างเหมาะสม
3B.9.3.2 การยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
3B.9.3.3 เด็กจะเรียนหนังสือระหว่างอยู่ในสหราชอาณาจักรได้หรือไม่
3B.9.3.4 วีซ่าท่องเที่ยวสำหรับเด็ก จะใช้ได้เมื่อไร
3B.9.4 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทบิดามารดาผู้มีบุตรอายุต่ำกว่า 12 ปี

กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนในสหราชอาณาจักร (Parents with children under 12
at school in UK)
3B.9.4.1 กฎข้อบังคับ
3B.9.5 วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อแต่งงาน (แต่ไม่อยู่ต่อในประเทศ)

(Marriage/Civil partnership visits not settlement)
3B.9.5.1 กฎข้อบังคับ
3B.9.6 วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อรับการรักษาพยาบาลด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว

(Private Medical Treatment)
3B.9.6.1 กฎข้อบังคับ
3B.9.6.2 อาจต่อวีซ่าได้
3B.9.7 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักศึกษาหลักสูตรสั้น ๆ ไม่นานกว่า 6 เดือน

(Student visitor)
3B.9.8 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทผู้มาเยี่ยมชมสถาบันการศึกษา

(Prospective student)
3B.9.9 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ (Business Visitors)
3B.9.9.1 บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้ควรได้รับวีซ่าประเภทนี้
3B.9.9.2 ผู้มาทำงาน ที่ไม่ควรขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจแต่ควรจะขอ

วีซ่าประเภทอื่น
• ระบบให้คะแนน ระดับที่ 1
• ระบบให้คะแนน ระดับที่ 2
• ระบบให้คะแนน ระดับที่ 5
3B.9.10 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ (Business Visitors) อาจารย์ผู้มา

ทำงานวิจัย (Academic Visitors)
3B.9.10.1 บุคคลผู้ที่ไม่เข้าข่ายวีซ่าประเภทอาจารย์ผู้มาทำงานวิจัย
3B.9.10.2 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ (Business Visitors) อาจารย์ผู้ควบคุม

นักศึกษา (Visiting Professors)
3B.9.10.3 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ (Business Visitors) ผู้ทำงานเกี่ยวกับ

ศาสนา (Religious Workers)
3B.9.11 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักกีฬา (Sports visitors)
3B.9.11.1 เจ้าหน้าที่และผู้ติดตามสนับสนุนนักกีฬา
3B.9.11.2 นักกีฬาที่ต้องการมาฝึกหัด (Training)
3B.9.12 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักแสดง (Entertainer Visitors)
3B.9.13 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทบิดาหรือมารดาผู้มีสิทธิเยี่ยมบุตรที่พำนัก

อยู่ในสหราชอาณาจักร (Parents with access rights to children in the UK)
3B.9.14 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทญาติสนิทผู้มาช่วยดูแลเด็ก (Child minders for relatives)
3B.9.15 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทเพื่อสัมภาษณ์เข้าทำงาน (Persons coming for job interviews)
3B.9.16 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทพยานปากสำคัญในศาล (Witnesses attending trials in the UK)
3B.10 ตารางแสดงระยะเวลาที่สถานทูตอังกฤษในประเทศไทยใช้เวลาพิจารณา

การขอวีซ่าเมื่อเดือน พฤษภาคม 2009
บทที่ 3 กฎหมายเข้าเมืองและการเข้าถือสัญชาติ
ส่วนที่ 3 B การขอวีซ่านักท่องเที่ยวในประเทศไทย

3B.1 วีซ่าท่องเที่ยว (Visitors visas)
วีซ่าท่องเที่ยว หรือที่กฎหมายเข้าเมืองเรียกว่า Visitor visa ถูกแก้ไขปรับปรุงใหม่
เพื่อให้สอดคล้องกับวีซ่าทำงานภายใต้ระบบให้คะแนน กฎใหม่เริ่มบังคับใช้เมื่อ
ปลายเดือนมีนาคม 2009 ซึ่งเพิ่มประเภทย่อยวีซ่านี้อีกมากมาย ผู้เขียนนับได้ทั้ง
หมด 28 ประเภท! จึงขอนำมาอธิบายเฉพาะบางประเภทที่เกี่ยวข้องหรือเป็นที่
สนใจของคนไทยเท่านั้น และได้ทำลิงค์ต้นฉบับภาษาอังกฤษไว้ท้ายคำอธิบาย
แต่ละประเภทเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมด้วย
3B.2 ประเภทของวีซ่าท่องเที่ยว
1. วีซ่าท่องเที่ยวทั่วไป รวมถึง วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมญาติ
2. วีซ่าท่องเที่ยวประเภทพิเศษ สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศไม่เกิน 6 เดือน

ด้วยเงื่อนไขจำเพาะที่ระบุไว้ เช่น
• เด็ก
• บิดามารดาผู้มีบุตรอายุต่ำกว่า 12 ปี กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนในสหราชอาณาจักร

เพื่อแต่งงาน (แต่ไม่อยู่ต่อในสหราชอาณาจักร)
• เพื่อรับการรักษาพยาบาลด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว
• นักศึกษาหลักสูตรสั้น ๆ
• ผู้มาเยี่ยมชมสถาบันการศึกษา เป็นต้น
3. วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ สำหรับผู้ที่มีงานประจำอยู่ในประเทศไทย แต่มาทำงาน

ในสหราชอาณาจักรชั่วคราว ในสาขาที่กฎหมายอนุญาต เช่น
• อาจารย์ผู้มาทำงานวิจัย
• อาจารย์ผู้ควบคุมนักศึกษา
• ผู้ที่ทำงานในวัด เป็นต้น
4. วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักกีฬา สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา

ในโอกาสต่างๆ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
5. วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักแสดง สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศไม่เกิน 6

เดือนเพื่อร่วมแสดงในงานที่เกี่ยวกับการกุศล ศิลปวัฒนธรรม หรือการแข่งขันดนตรี
6. วีซ่าท่องเที่ยวประเภทอื่น ๆ เช่น
• บิดามารดาผู้มีสิทธิตามกฎหมายไปเยี่ยมบุตร
• ญาติสนิทผู้มาช่วยดูแลเด็ก
• เพื่อสัมภาษณ์เข้าทำงาน
• พยานปากสำคัญในศาล เป็นต้น

3B.3 กำหนดระยะเวลาของวีซ่าท่องเที่ยว
• วีซ่าท่องเที่ยวอาจมีระยะเวลาอายุ 6 เดือน 12 เดือน 2 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี แต่จะใช้
เดินทางไปสหราชอาณาจักรได้ชั่วคราวคือครั้งละไม่เกิน 6 เดือน สำหรับชนิด 6 เดือน
จะใช้ได้ 1 หรือ 2 หรือไม่จำกัดจำนวนครั้ง และชนิดที่มีอายุนานกว่า 6 เดือน จะใช้ได้
ไม่จำกัดจำนวนครั้งตลอดระยะเวลาอายุวีซ่า
• วีซ่าท่องเที่ยวชนิดเข้าออกประเทศได้หลายครั้ง (Long term multiple entry) ที่ได้ก่อนวัน

ที่ 27 พฤศจิกายน 2008 ยังใช้ได้ ตราบใดผู้นั้นยังเข้าข่ายเป็นนักท่องเที่ยวทั่วไป หรือ
 นักท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ หากเข้าข่ายประเภทอื่นต้องขอวีซ่าใหม่
• วีซ่าท่องเที่ยวชนิดเข้าออกประเทศได้หลายครั้ง ที่ออกภายหลังวันที่ วันที่ 27

พฤศจิกายน 2008 ใช้ได้สำหรับผู้ที่เข้าข่ายเป็นนักท่องเที่ยวทั่วไป หรือประเภทธุรกิจ
เท่านั้น
3B.4 วีซ่าท่องเที่ยวแบบเดินทางเข้าประเทศได้ครั้งเดียว
• เพื่อเป็นพยานปากสำคัญในศาล
• เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือองค์กรอื่นขอให้ผู้นี้มาช่วยการสืบสวนของเจ้าหน้าที่
• เพื่อมาร่วมงานศพญาติใกล้ชิด
• เมื่อได้รับเชิญให้มาเป็นแขกในงานใดงานหนึ่งที่จัดขึ้นจริง เช่นพิธีกรรมทางศาสนา
• เพื่อมาทำธุรกรรมทางธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง และผู้ขอวีซ่ามีความสำคัญต่อการทำ

ธุรกรรมนั้น
• เพื่อเยี่ยมญาติใกล้ชิดที่กำลังมีครรภ์ หรือกำลังเจ็บป่วย

http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/visitorgeneral
3B.5 อยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน
ผู้ถือวีซ่าท่องเที่ยวมีสิทธิอยู่ในสหราชอาณาจักรได้ในแต่ละครั้งไม่เกิน 6 เดือน
หรือจนกระทั่งวีซ่าหมดอายุ ในกรณีที่การเดินทางครั้งหลังสุดมีวีซ่าอายุเหลือไม่ถึง
6 เดือน หากที่ท่านเดินทางเข้าออกอังกฤษหลายครั้ง เจ้าหน้าที่อาจประทับตราใน
หนังสือเดินทางสำหรับการเข้าเมืองครั้งแรกเท่านั้น ดังนั้นท่านควรเก็บรักษาหลักฐาน
การเดินทางไว้ให้ดี เพราะท่านอาจจะต้องแสดงว่าท่านอยู่ในประเทศไม่เกิน 6 เดือน
และได้เดินทางเข้าประเทศครั้งสุดท้ายเมื่อใด
3B.6 การต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยว
โดยปกติจะไม่มีการต่ออายุวีซ่าท่องเที่ยวเกิน 6 เดือน เว้นแต่จะเป็นกรณีที่น่ากรุณาที่สุด
 (Exceptional compassionate circumstances) หรือเป็น
1. อาจารย์ผู้มาทำงานวิจัย
2. ผู้รับการรักษาพยาบาลด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว หรือ
3. บิดามารดาผู้มีสิทธิตามกฎหมายไปเยี่ยมบุตร

ท่านเหล่านี้อาจอยู่ได้ถึง 12 เดือน
ผู้ใดครั้งแรกได้วีซ่าไม่ถึง 6 เดือน สามารถต่ออายุให้ครบ 6 เดือนได้ นอกจากจะมีเหตุ
สำคัญที่ควรปฏิเสธ
3B.7 ใช้เดินทางได้กี่ครั้ง
• สำหรับชนิด 6 เดือนจะใช้ได้ 1 หรือ 2 หรือไม่จำกัดจำนวนครั้ง และชนิดที่มีอายุนานกว่า 6 เดือน จะใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งตลอดระยะเวลาอายุวีซ่า
• ไม่จำกัดระยะเวลาระหว่างแต่ละครั้ง แต่
• ไม่ควรอยู่ในสหราชอาณาจักรเกิน 6 เดือนในระยะเวลา 12 เดือน นอกจากได้รับอนุญาต

ให้อยู่เกิน 6 เดือน
3B.8 ข้อบังคับอื่น ๆ
3B.8.1 ค่าเลี้ยงชีพ
นักท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีทุนทรัพย์ของตนเองอย่างเพียงพอโดยไม่ต้องพึ่งเงินสงเคราะห์

ของรัฐบาล หรือโดยการทำงาน
3B.8.2 การรับรอง
เจ้าหน้าที่จะพิจารณาการรับรอง (Undertakings) จากผู้ที่อยู่ในสหราชอาณาจักร (แต่มีข่าว

ว่าต่อไปโฮมออฟฟิสจะบังคับให้ญาติในสหราชอาณาจักรออกใบรับรองให้ญาติผู้ขอวีซ่า
ท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมญาติ)
3B.8.3 การปฏิเสธวีซ่า
ในการที่จะปฏิเสธคำขอวีซ่าของผู้ใด เจ้าหน้าที่จะต้องพิจารณาว่ามีเหตุใดที่กฎหมาย

กำหนดไว้ให้เขาจำเป็นจะต้องปฏิเสธหรือควรปฏิเสธการขอวีซ่า (ตามที่ได้อ้างแล้ว
ข้างต้น) หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีที่ผู้ขอวีซ่าเคยทำผิดกฎหมายเข้าเมืองโดยอยู่
ในอังกฤษเกินอายุวีซ่ามาก่อน เป็นต้น แต่เหตุผลนี้เป็นเพียงเหตุผลที่เขาควร จะปฏิเสธ
(แต่ไม่จำเป็นต้องปฏิเสธ) ดังนั้นหากท่านเคยกระทำผิดเช่นนั้น ขอแนะนำให้ผู้ขอวีซ่า
แจ้งต่อเจ้าหน้าที่อย่างเปิดเผย มิฉะนั้นหากเจ้าหน้าที่ค้นพบเอง จะทำให้ความเป็นไปได้
ในการได้รับวีซ่าของท่านน้อยลงไปมาก เพราะถือว่าท่านทำผิดฐานปกปิดหรือไม่แจ้ง
เรื่องสำคัญที่เจ้าหน้าที่จะพึงใช้ในการพิจาณาวีซ่าด้วยอีกฐานความผิดหนึ่ง นอกเหนือ
ไปจากความผิดที่เคยทำไว้ในอดีต
3B.9 กฎข้อบังคับและประเด็นที่เจ้าหน้าที่จะพิจารณาสำหรับวีซ่าประเภทต่าง ๆ
3B.9.1 วีซ่าท่องเที่ยวทั่วไป (General visitors)
1. ต้องการเข้ามาในสหราชอาณาจักรไม่เกิน 6 เดือน
2. มีเจตนาจะออกไปจากสหราชอาณาจักรหลังจากระยะเวลาดังกล่าว
3. จะไม่ทำงาน ผลิตสิ่งของ หรือให้บริการ แก่ประชาชนทั่วไป
4. ไม่เข้ารับการศึกษา
5. ไม่รับเงินสงเคราะห์ของรัฐบาล
6. มีเงินทุนพอเพียงเพื่อเดินทางออกไปจากสหราชอาณาจักร
7. ไม่ใช่ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 18 ปี
8. ไม่กระทำกิจกรรมใด ๆ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้มีวีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ นักแสดง

หรือนักกีฬา เท่านั้นที่มีสิทธิกระทำได้
9. ไม่ทำการสมรส
10. ไม่เจตนาเข้ามารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน
11. ไม่เข้ามาเพื่อเป็นทางผ่านไปประเทศอื่น

http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/visitorgeneral
3B.9.2 วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมญาติ (Visiting family)
เจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าผู้ขอวีซ่าจะไปทำอะไร และจะอยู่ในสหราชอาณาจักรจริง ๆ

นานเท่าไร และระหว่างที่อยู่ที่นั้นจะต้องไม่ทำกิจกรรมใด ๆ ที่กฎข้อบังคับห้ามไว้
สำหรับผู้มีวีซ่าท่องเที่ยว และ
ผู้ขอวีซ่ามีทุนทรัพย์พอเพียงสำหรับตนเองและผู้ติดตาม (ถ้ามี) ในการไปเยือนสหราช

อาณาจักร และเพื่อเดินทางออกหรือไม่
3B.9.2.1 ใครคือญาติ
กฎหมายระบุไว้ว่าบุคคลเหล่านี้เป็นญาติ ซึ่งหากถูกปฏิเสธวีซ่าเยี่ยมญาติ ผู้ขอมีสิทธิ

ตามกฎหมายที่จะอุทธรณ์คำปฏิเสธนั้น
1. คู่สมรส บิดามารดา บุตรธิดา ปู่ย่าตายาย หลาน พี่น้อง ลุงป้าน้าอา ลูกพี่ลูกน้อง
2. บิดามารดา พี่น้อง ของคู่สมรส
3. ลูกเขยลูกสะใภ้
4. พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง ลูกเลี้ยง พี่น้องต่างบิดาหรือมารดา
5. คู่ครอง (ที่อยู่ด้วยกันมาแต่ไม่ได้สมรส ตลอดระยะเวลาสองในสามปีที่ผ่านมาก่อน

หน้าวันที่ขอวีซ่านั้น)
6. บุตรบุญธรรมที่กฎหมายอังกฤษรับรอง ถือว่าเป็นบุตรโดยกำเนิดของบิดามารดา

บุญธรรมนั้น
3B.9.2.2 สิทธิอุทธรณ์
ผู้ขอวีซ่าเพื่อเยี่ยมบุคคลที่กฎหมายระบุว่าเป็นญาติ มีสิทธิอุทธรณ์การปฏิเสธวีซ่านั้น

http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/vistortransitvisa2
3B.9.3 วีซ่าท่องเที่ยวสำหรับเด็ก (Child visitors)
เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีต้องแสดงให้เห็นว่า
1. ได้มีการจัดจัดเตรียมเรื่องการเดินทาง การต้อนรับ และการดูแลระหว่างที่อยู่ใน

สหราชอาณาจักรไว้อย่างเหมาะสมแล้ว
2. มีบิดามารดา หรือผู้ปกครองซึ่งทำมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเด็กนั้นในประเทศไทย และ
3. บิดามารดาหรือผู้ปกครองนั้นยินยอมให้เด็กเดินทาง

3B.9.3.1 การเดินทาง การต้อนรับ และการดูแลอย่างเหมาะสม
สิ่งนี้อาจจะแต่งต่างกันในแต่ละกรณี เจ้าหน้าที่จะต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้ที่จะ

ดูแลเด็กในสหราชอาณาจักร หรือผู้ที่เดินทางกับเด็ก และเจ้าหน้าที่จะสอบถามเรื่อง
การดูแลเด็ก ซึ่งส่วนมากหมายถึงกำหนดการเดินทางและรายละเอียดเรื่องที่พักของบิดา
มารดา (ในกรณีที่เดินทางด้วยกัน) หรือขอดูจดหมายจากผู้ที่จะต้อนรับทางอังกฤษ
3B.9.3.2 การยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
เจ้าหน้าที่จะต้องบันทึกคำยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองในประเทศไทยด้วย

ส่วนมากบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่จะเดินทางกับเด็กก็จะเซ็นใบสมัครขอวีซ่าด้วยตนเอง
 หรือหากไม่ได้เดินทางด้วยก็สามารถทำหนังสือยินยอมได้ เจ้าหน้าที่จะปฏิเสธวีซ่า
หากสงสัยในคำยินยอม หรือไม่มีการยินยอม และไม่มีคำอธิบายที่สมเหตุสมผล
ในกรณีที่บิดามารดาหย่าขาดจากกัน ผู้ที่มีสิทธิในตัวเด็กตามกฎหมาย หรือเป็นผู้รับ
ผิดชอบแต่ผู้เดียว (Sole responsibility) จะต้องเป็นผู้ยินยอม
3B.9.3.3 เด็กจะเรียนหนังสือระหว่างอยู่ในสหราชอาณาจักรได้หรือไม่
เด็กที่มีวีซ่าท่องเที่ยวอาจเรียนหลักสูตรสั้น ๆ ในโรงเรียนเอกชนได้ แต่โรงเรียนจะต้อง
1. ได้รับการรับรองจาก Register of Education and Training Providers หรือ
2. เป็นผู้รับรองระดับที่ 4 ภายใต้ระบบให้คะแนน หรือ
3. ได้รับการรับรองจากโฮมออฟฟิส
4. ในกรณีหลักสูตรสั้น ๆ เป็นประเภทที่เน้นการทำกิจกรรม โรงเรียนไม่จำเป็นต้องได้

รับการรับรอง หลักสูตรเหล่านี้อาจมีส่วนการสอนภาษาอังกฤษบ้าง แต่จะต้องเป็น
ส่วนน้อยของหลักสูตรทั้งหมด และ
• โรงเรียนจะต้องมีแผนการปกป้องคุ้มครองระวังภัยต่อเด็กนักเรียน และ
• หากหลักสูตรจำเป็นจะต้องได้รับการรับรอง โรงเรียนก็ได้รับการรับรองนั้น ๆ แล้ว
โรงเรียนอาจส่งหนังสือยืนยันเนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลา กฎหมายข้อบังคับ และการ

ยืนยันจากองค์กรควบคุมว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ แล้ว
3B.9.3.4 วีซ่าท่องเที่ยวสำหรับเด็ก จะใช้ได้เมื่อไร
เด็กจำเป็นต้องเดินทางพร้อมกับผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็น 1 หรือ 2 คน ที่มีชื่ออยู่ในวีซ่า

ของเด็ก หากเด็กจะต้องเดินทางแต่ผู้เดียวหรือยังไม่แน่ใจว่าผู้ใหญ่คนไหนจะเดินทาง
ด้วย วีซ่าเด็กควรจะเป็นประเภท เดินทางแต่ผู้เดียว แต่เจ้าหน้าที่จะเพ่งเล่งใบสมัคร
ขอวีซ่าและสถานการณ์ของเด็กผู้ขอวีซ่าประเภทนี้เป็นพิเศษ
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/specialchildv
3B.9.4 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทบิดามารดาผู้มีบุตรอายุต่ำกว่า 12 ปี กำลังศึกษาอยู่ใน
โรงเรียนในสหราชอาณาจักร (Parents with children under 12 at school in UK)
3B.9.4.1 กฎข้อบังคับ

1. บิดามารดาต้องเข้าข่ายกฎข้อบังคับของวีซ่าท่องเที่ยวทั่วไปข้างต้น และ
2. บุตรได้รับวีซ่าเด็กนักเรียน (Child student) เพื่อเรียนในโรงเรียนไปมา (day school)

ซึ่งได้รับเป็นผู้รับรองภายใต้ระบบให้คะแนนระดับที่ 4 และ
3. เด็กมีอายุต่ำกว่า 12 ปี และ
4. บิดามารดามีหลักฐานยืนยันว่ามีทุนทรัพย์เพียงพอและมั่นคงสำหรับการมีบ้านเรือน

อีกแห่งในสหราชอาณาจักร และ
5. บิดามารดาไม่ต้องการมีบ้านที่เป็นบ้านหลักอยู่ในสหราชอาณาจักร
บิดามารดาจะได้รับวีซ่าอนุญาตให้อยู่ในสหราชอาณาจักร 12 เดือน

http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/parentchildunder12
3B.9.5 วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อแต่งงาน (แต่ไม่อยู่ต่อในประเทศ) (Marriage/Civil partnership
visits not settlement)
ผู้ที่ตั้งใจจะแต่งงาน แต่ไม่อยู่ต่อในสหราชอาณาจักรหลังจากแต่งงานแล้วเท่านั้นจึง
จะขอวีซ่าประเภทนี้ได้ ส่วนผู้ที่ต้องการแต่งงานในสหราชอาณาจักรแล้วจะพำนักอาศัย
อยู่ที่นั่น ต้องขอวีซ่าคู่หมั้น
3B.9.5.1 กฎข้อบังคับ
ผู้ขอจะต้องเข้าข่ายกฎข้อบังคับของวีซ่าท่องเที่ยวทั่วไปข้างต้น และแสดงหลักฐานการ

แสดงความจำนงที่จะสมรส (Notification of marriage) หรือหลักฐานการจัดเตรียมพิธีสมรส
ซึ่งจะเกิดขึ้นในระหว่างอายุของวีซ่า คือ 6 เดือน เมื่อจะทำการสมรสเจ้าหน้าที่สำนัก
ทะเบียน (registry office) จะตรวจสอบวีซ่า ก่อนรับการแจ้งว่าจะทำพิธีสมรส ส่วนผู้ที่อยู่
ในสหราชอาณาจักรแล้ว และต้องการจดทะเบียนสมรส ต้องขอใบอนุญาตพิเศษ
(Certification of Approval) จากโฮมออฟฟิสก่อน ดูรายละเอียดได้ที่ บทที่ 4 กฎหมาย
ครอบครัว
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/vistortransitvisa13
3B.9.6 วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อรับการรักษาพยาบาลด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว (Private Medical
Treatment)
3B.9.6.1 กฎข้อบังคับ
1. ต้องเข้าข่ายกฎข้อบังคับของวีซ่าท่องเที่ยวทั่วไปข้างต้น
2. ต้องเดินทางไปสหราชอาณาจักรเพื่อรับการรักษาพยาบาลด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวจริง ๆ

3. ต้องไม่เจตนาไปรับการรักษาพยาบาลฟรีในโรงพยาบาลของรัฐ นอกจากตามที่
กระทรวงสาธารณะสุขอนุญาตไว้เท่านั้น
4. เป็นการรักษาพยาบาลที่มีกำหนดเวลาแน่นอน
5. ผู้ขอวีซ่าเจตนาจะออกจากสหราชอาณาจักรหลังจากได้รับการรักษาพยาบาล
6. ผู้ขอวีซ่าไม่เป็นโรคติดต่อ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
7. ต้องแสดงหลักฐานการนัดหมายแพทย์ หรือการเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยทุน

ทรัพย์ส่วนตัวนั้น และ
8. ต้องมีทุนทรัพย์ในสหราชอาณาจักรพอเพียงสำหรับจ่ายค่ารักษาพยาบาล และผู้ขอ

วีซ่าต้องยืนยัน (Undertaking) ว่าจะใช้ทุนทรัพย์นั้นจ่ายค่ารักษาพยาบาล
9. หากเจ้าหน้าที่ไม่มั่นใจว่าค่ารักษาพยาบาลที่ผู้ขอวีซ่าแจ้งถูกต้อง หรือสงสัยในหลัก

ฐานที่นำมาแสดง เขาอาจติดต่อสอบถามแพทย์หรือโรงพยาบาลโดยตรง
3B.9.6.2 อาจต่อวีซ่าได้
ผู้ที่ได้รับวีซ่าประเภทนี้ อยู่ในอังกฤษได้ 6 เดือน แต่โฮมออฟฟิสอาจต่ออายุวีซ่าให้ได้

หากมีหนังสือยืนยันจากแพทย์ผู้ใหญ่ของรัฐ (NHS Consultant) เรื่องการรักษาพยาบาลที่
จำเป็นต้องดำเนินการต่อไปอีก
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/privatemedicaltreatment
3B.9.7 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักศึกษาหลักสูตรสั้น ๆ ไม่นานกว่า 6 เดือน (Student visitor)
1. ต้องไม่ทำงาน ไม่ว่าจะรับหรือไม่รับค่าจ้าง
2. ไม่มีการต่อวีซ่า และจะไม่ได้วีซ่าระยะยาว
3. ไม่มีกฎข้อบังคับว่าจะต้องเรียนสัปดาห์ละกี่ชั่วโมง หรือเวลาไหนบ้าง อาจจะเป็นหลัก

สูตรวันเสาร์อาทิตย์ หรือภาคค่ำก็ได้ และไม่จำเป็นว่าจะได้ประกาศนียบัตรหรือไม่
4. ต้องเรียนในสถานศึกษาเอกชน ซึ่ง
• ได้รับการรับรองจาก Register of Education and Training Providers หรือ
• เป็นผู้รับรองระดับที่ 4 ภายใต้ระบบให้คะแนน หรือ
• ได้รับการรับรองจากโฮมออฟฟิส

นักศึกษาหลักสูตรสั้น ๆ นี้ไม่มีสิทธิอุทธรณ์การปฏิเสธวีซ่า แต่หากนักศึกษา ฯ ตั้งใจ
จะไปเยี่ยมผู้ซึ่งกฎหมายนับว่าเป็นญาติ (ดูรายละเอียดที่วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเยื่ยมญาติ
ข้างต้น) นักศึกษาก็มีสิทธิอุทธรณ์การปฏิเสธวีซ่าได้
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/studentvisitor
3B.9.8 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทผู้มาเยี่ยมชมสถาบันการศึกษา (Prospective student)
คือผู้ที่ตั้งใจมาศึกษาในสหราชอาณาจักร แต่ยังไม่ตัดสินใจแน่นอนว่าจะศึกษาที่ใด

หรือขั้นตอนการสมัครยังไม่เสร็จสิ้น เมื่อผู้นี้ได้รับการตอบรับอย่างไม่มีข้อแม้จากสถาน
ศึกษาแล้ว ก็มีสิทธิเปลี่ยนวีซ่า (Switching) เป็นประเภทนักศึกษาภายใต้ระบบให้คะแนน
ในประเทศอังกฤษได้
1. นักศึกษาจำพวกนี้หมายรวม ถึงนักศึกษาพยาบาลหรือผดุงครรภ์ที่จบการศึกษาจาก

ประเทศไทย แต่ไม่รวมแพทย์หรือทันตแพทย์
2. นักศึกษาจะต้องมีกำหนดการและจุดหมายอย่างชัดเจนว่าจะเรียนวิชาอะไร และมี

หลักฐานการติดต่อกับสถานศึกษาในสหราชอาณาจักรแล้ว เช่น นักศึกษาที่ได้การตอบ
รับจากสถานศึกษา เพียงจำเป็นต้องมีการสัมภาษณ์ก่อนเท่านั้น เป็นต้น ผู้ที่มีโครงการ
เลื่อนลอยว่าจะศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญา โดยไม่ทราบแน่ว่าจากที่ไหนเช่นนี้ จะไม่ได้รับ
วีซ่าชนิดนี้
3. นักศึกษาต้องแสดงหลักฐานว่าหลักสูตรจะเริ่มต้นภายในอายุของวีซ่าชนิดนี้คือ 6 เดือน
วีซ่าประเภทนี้มีสิทธิอุทธรณ์การปฏิเสธขอวีซ่า และมีสิทธินำผู้ติดตามคือ คู่สมรส และ

บุตรผู้เยาว์ไปด้วย
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/prospectivestudent
3B.9.9 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ (Business Visitors)
วีซ่าประเภทนี้ใช้สำหรับผู้ที่ทำงานในประเทศไทย แต่ต้องการเดินทางมาสหราชอาณา

จักรเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อกิจการธุรกิจ วีซ่านี้ต้อง:
1. เข้าข่ายกฎข้อบังคับของวีซ่าท่องเที่ยวทั่วไปข้างต้น และ
2. ผู้ขอทำงานอยู่ในประเทศไทย และไม่คิดจะย้ายที่ทำงานมาอยู่ในสหราชอาณาจักร

แม้เป็นการชั่วคราว และ
3. รับเงินเดือนจากประเทศไทย แต่มีสิทธิรับค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าเดินทางระหว่างอยู่ใน

อังกฤษได้และ
4. ไม่ทำงานเกี่ยวกับการขายสินค้า หรือให้บริการโดยตรงกับประชาชนทั่วไป

3B.9.9.1 บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้ควรได้รับวีซ่าประเภทนี้
• ผู้ทำงานในกองถ่ายภาพยนตร์ (film crews) ซึ่งหมายรวมถึง นักแสดง ผู้อำนวยการ

ผู้กำกับ ช่างเทคนิคต่าง ๆ ในการถ่ายทำภาพยนตร์นอกสถานที่ (location shoot) แต่ต้องถูก
จ้างและได้รับค่าจ้างจากบริษัทในประเทศไทย
• ตัวแทนสื่อสารมวลชนจากประเทศไทย ในกรณีถูกจ้างและได้รับค่าจ้างจากบริษัทใน

ประเทศไทย และมาหาหรือทำข่าวให้หนังสือพิมพ์หรือรายการในประเทศไทย
• อาจารย์ผู้มาทำการวิจัย (academic visitors)
• อาจารย์ผู้มาควบคุม หรือมาสอนนักศึกษาที่เดินทางมาเรียนหลักสูตรต่างประเทศ

(visiting professors)
• เจ้าหน้าที่บริษัทในประเทศไทยที่มีสัญญาซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทในสหราช

อาณาจักร (secondees) แต่บริษัททั้งสองไม่ใช่บริษัทในเครือเดียวกัน และเจ้าหน้าที่ไทย
ถูกส่งมาเป็นกรณีพิเศษเพื่อช่วยให้บริษัทในสหราชอาณาจักรส่งสินค้าหรือบริการนั้นได้
ตามสัญญา เช่น ชี้แจงรายละเอียดของบริษัทไทย แต่ผู้นี้จะต้องเป็นพนักงานและรับเงิน
เดือนจากบริษัทไทยโดยตลอด หากบริษัททั้งสองเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน เจ้าหน้าที่
ผู้ถูกส่งมาประจำในสหราชอาณาจักร จะต้องขอวีซ่าทำงานภายใต้ระบบให้คะแนน
ประเภทพนักงานย้ายสาขา (tier 2 intra-company transfer) ส่วนผู้อื่นที่มาทำงานในสหราช
อาณาจักรจะต้องขอวีซ่าทำงานภายใต้ระบบให้คะแนนประเภทอื่น ๆ ตามสมควร
• วีซ่าประเภทนี้อนุญาตให้มาทำงานในสหราชอาณาจักรได้คราวละ 6 เดือน แต่หาก

จำเป็นก็อาจจะได้รับวีซ่าเพื่อกลับเข้ามาใหม่
• ผู้ทำงานให้วัด (religious workers) อาจจะสอนหรือเทศน์ระหว่างการเดินทางธุรกิจ เช่น

ในที่ประชุม เป็นต้น แต่ต้องเป็นผู้ทำงานในประเทศไทย และไม่รับตำแหน่ง หน้าที่
หรืองานใด ๆ ในสหราชอาณาจักร
• ที่ปรึกษา ผู้ฝึก ผู้แก้ปัญหา (Advisers, consultants, trainers หรือ trouble shooters) ที่ทำงานให้

กับบริษัทในประเทศไทยในเครือเดียวกันกับบริษัทในอังกฤษ แต่ต้องไม่ใช่ประเภทที่
ถือว่าเป็นการจ้างงานโดยสาขาอังกฤษ
• เจ้าหน้าที่บริษัทไทยเข้ามาฝึกงานเฉพาะ และพิเศษในทางเทคนิค หรือระบบการทำ

งานในอังกฤษ ที่ไม่ใช่การฝึกการทำงาน on the job training และบริษัทไทยที่เป็นนายจ้าง
นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทในเครือ หรือมีสัญญาซื้อขายกับบริษัทอังกฤษ
นอกจากนั้นผู้ที่เข้ามาทำงานต่อไปนี้ เป็นผู้ที่เข้ามาในสหราชอาณาจักรด้วยวีซ่าท่อง
เที่ยวประเภทธุรกิจได้
• ผู้มาประชุม สัมภาษณ์ หรือสัมมนา
• ผู้มาแสดงสินค้า ประเภทการส่งเสริมสินค้า และไม่ใช่การขายโดยตรงแก่ประชาชนทั่ว

ไป
• ผู้มาติดต่อการค้าขาย ต่อรองและเซ็นสัญญาซื้อขาย
• ผู้มาวิจัยข้อมูล เช่นนักหนังสือพิมพ์มาทำข่าวเพื่อไปเขียนลงในหนังสือพิมพ์ไทยเป็นต้น
• ผู้มาสำรวจตรวจสอบสถานที่ (site visit)
• ผู้มาซื้อและตรวจรายละเอียดของสินค้า หรือตรวจสินค้า
• ผู้ขนย้ายสินค้ามาจากประเทศไทย
• ผู้มาสัมภาษณ์ ในกรณีที่มีการนัดหมายการสัมภาษณ์ไว้แล้ว
• หัวหน้าทัวร์บริษัทไทย ที่จะนำลูกทัวร์มาเที่ยวอังกฤษ และจะออกจากอังกฤษพร้อม

กับคณะลูกทัวร์
• ผู้บรรยายในงานประชุมที่จัดขึ้นพิเศษ และไม่ไช่เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า
• นักแปล ล่าม ที่เป็นพนักงานบริษัทไทย ที่เดินทางเข้ามาแปล หรือเป็นล่ามให้กับ

เจ้าหน้าที่ของบริษัท ผู้เดินทางเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ
• ตัวแทนบริษัทไอที ประเภท ซอฟต์แวร์ ที่มาติดตั้ง แก้ไข ต่อเติมสินค้าของบริษัท

หรือตัวแทนของบริษัทที่มารับทราบข้อมูล ความต้องการของลูกค้าในสหราชอาณาจักร
แต่ตัวแทนที่จะต้องเข้ามาตรวจสอบความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียด ควรขอวีซ่าภ
ายใต้ระบบให้คะแนน เพราะงานเช่นนี้ถือว่าเป็นประเภท ที่ปรึกษา (consultancy)
• ตัวแทนบริษัทไทยที่มาซ่อมแซมดูแล สินค้าของบริษัท ซึ่งอยู่ระหว่างการรับประกัน
• ตัวแทนบริษัทไทยที่มาประกอบ ติดตั้งเครื่องจักร ที่ไม่สามารถส่งมาเป็นชิ้นเดียว

และที่บริษัทไทยขายให้กับบริษัทในสหราชอาณาจักร
• ตัวแทนบริษัทไทยที่มาติดตั้ง รื้อถอน ซ่อมแซมดูแล หรือแนะนำ การก่อสร้างและ

พัฒนาเครื่องจักรที่ทำในประเทศไทย
• กรรมการที่มาประชุมคณะกรรมการของบริษัทในสหราชอาณาจักร แต่ต้องไม่ใช่พนัก

งานของบริษัทอังกฤษ แต่มีสิทธิรับเบี้ยประชุมได้
3B.9.9.2 ผู้มาทำงาน ที่ไม่ควรขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจแต่ควรจะขอวีซ่าประเภทอื่น
ระบบให้คะแนน ระดับที่ 1
1. ผู้ที่มาก่อตั้งธุรกิจในสหราชอาณาจักร ควรขอวีซ่า ระดับที่ 1 ประเภทผู้ประกอบการ

(tier 1 entrepreneur)
2. ผู้ที่จะผลิตสินค้าหรือให้บริการในสหราชอาณาจักร ควรขอวีซ่า ระดับที่ 1 ประเภททั่ว

ไป (tier 1 general) ระดับที่ 2 หรือระดับที่ 5 ทำงานชั่วคราว (temporary work) ขึ้นอยู่กับสถาน
การณ์ของผู้ขอวีซ่า กิจการ ผู้รับรองในสหราชอาณาจักร และระยะเวลาของการทำงานนั้น ๆ
3. ผู้ที่จะขายสินค้าหรือให้บริการในสหราชอาณาจักร ควรขอวีซ่า ระดับที่ 1 ประเภททั่วไป

ระดับที่ 2 หรือระดับที่ 5 ทำงานชั่วคราว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของผู้ขอวีซ่า กิจการ
ผู้รับรองในสหราชอาณาจักร และระยะเวลาของการทำงานนั้น ๆ
4. ที่ปรึกษาที่ทำงานอิสระ (self-employed consultants) นอกจากผู้ที่มีสัญญาว่าจ้างกับบริษัท

ในประเทศไทยที่เป็นสาขาของบริษัทในสหราชอาณาจักร ควรขอวีซ่า ระดับที่ 1 ประเภท
ทั่วไป
5. ผู้ฝึกสอน (those offering training) นอกจากการฝึกสอนนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ไทย หรือผลิต

ภัณฑ์เฉพาะของกลุ่มบริษัทที่บริษัทอังกฤษเป็นสมาชิก ควรขอวีซ่า ระดับที่ 1 ประเภท
ทั่วไป
ระบบให้คะแนน ระดับที่ 2
6. พนักงานบริษัทไทย ที่มีสาขา และถูกส่งมาทำงานในสหราชอาณาจักร ควรขอวีซ่า

ระดับที่ 2 ประเภทพนักงานย้ายสาขา
7. คนที่จะมาทำงานในประเภทซึ่งคนงานในอังกฤษหรือยุโรปก็ทำได้ ควรขอวีซ่า ระดับ

ที่ 2 ประเภท ทั่วไป แต่ต้องเป็นงานในบัญชีอาชีพขาดแคลนแรงงาน (shortage occupation list)
 หรือได้ผ่านการตรวจสอบหาแรงงานในประเทศแล้ว (resident labour market test)
8. ผู้ที่เป็นพนักงานเต็มเวลาและได้รับเงินเดือนในฐานะกรรมการหรือผู้ร่วมงาน

ของคณะขุดค้นโบราณคดี (archaeological dig)
ระบบให้คะแนน ระดับที่ 5
9. นักกีฬาที่มาร่วมการแข่งขันกีฬานัดเดียวกรณีพิเศษ ขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักกีฬา

ได้ นอกจากนั้นต้องขอภายใต้ระบบให้คะแนน ระดับที่ 5 ทำงานชั่วคราว ประเภทนักกีฬา
และนักแสดง
10. นักดนตรี หรือนักแสดงที่มาแสดงดนตรี หรือแสดงภาพยนตร์ต้องขอภายใต้ระบบให้

คะแนน ระดับที่ 5 ทำงานชั่วคราว ประเภทนักกีฬาและนักแสดง
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/businessvisitor
3B.9.10 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ (Business Visitors) อาจารย์ผู้มาทำงานวิจัย (Academic
Visitors)
• อาจารย์ผู้สอนหนังสือในสถานศึกษาไทย แต่มาทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักรระหว่าง

การหยุดพักสอน (sabbaticals) เช่นการวิจัยสำหรับงานเขียนหนังสือ เป็นต้น แต่ผู้ที่ได้รับ
การหยุดงานจากบริษัทเอกชนเพื่อทำการวิจัย ขอวีซ่าประเภทนี้ไม่ได้ หรือ
• อาจารย์ (หมายรวมแพทย์) ในโครงการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการกับสถานศึกษา

ในอังกฤษ
• ศาสตราจารย์แพทย์ หรือทันตแพทย์ ผู้อยู่ในโครงการวิจัย สอน และรักษาพยาบาล

และ
• จะต้องไม่ได้รับเงินค่าจ้างใด ๆ จากองค์กรในอังกฤษ นอกจากค่าใช้จ่าย ค่าสินน้ำใจ

เล็กน้อย ตามสมควร (reasonable honoraria) หรือการจ่ายเงินในรูปแบบการแลกเปลี่ยน
(payment on an exchanged basis)
• ไม่ทำงานอื่นนอกจากงานทางวิชาการที่ได้รับอนุญาตตามวีซ่า
• ไม่รับตำแหน่งหรือทำงานในหน้าที่ที่เกิดว่างลง
• ไม่อยู่ในสหราชอาณาจักรเกิน 12 เดือน และต้องออกนอกประเทศหลังจากนั้น
• ไม่รับการจ้างงานในสหราชอาณาจักร
• มีทุนทรัพย์เพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพของตนเอง และผู้ติดตามโดยไม่รับเงิน

สงเคราะห์ของรัฐบาล หรือมีที่พักอาศัยและได้รับการเลี้ยงดูโดยญาติหรือเพื่อน
• มีทุนทรัพย์เพียงพอสำหรับการเดินทางออกไปจากสหราชอาณาจักร

3B.9.10.1 บุคคลผู้ที่ไม่เข้าข่ายวีซ่าประเภทอาจารย์ผู้มาทำงานวิจัย
• นักศึกษาที่จบใหม่ ๆโดยเฉพาะผู้ที่ได้ปริญญาจากสหราชอาณาจักร
• นักศึกษาที่กำลังทำวิจัยต่อหลังจากได้รับปริญญา (postgraduate researchers) เพื่อที่จะ

ได้รับปริญญาสูงขึ้นในสหราชอาณาจักร ควรขอวีซ่าเป็นวีซ่านักศึกษาในระดับที่ 4
หรือ ระดับที่ 2 ภายใต้ระบบให้คะแนน
• อาจารย์ในมหาวิทยาลัย (lecturers) ที่จะมาสอนและจะได้ค่าจ้าง จะต้องขอวีซ่า ระดับที่ 2

 ภายใต้ระบบให้คะแนน แต่นักวิชาการอาจจะขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจได้หากอยู่
ไม่เกิน 6 เดือน และเพียงมาร่วมงานประชุมหรือสัมมนาพิเศษ ในคราวเดียว และไม่เป็น
ไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า (not a commercial venture)
• ผู้ที่ทำงานกับบริษัทเอกชนและได้รับอนุญาตหยุดงานเพื่อทำงานวิจัย ขอวีซ่าประเภทนี้

ไม่ได้
• นักวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน (sponsored researchers) คือบุคคลที่ต้องการเข้ามาในสหราช

อาณาจักรเพื่อเป็นผู้นำ หรือผู้ร่วมโครงการวิจัยทางการ ซึ่งมีองค์การอังกฤษเป็นเจ้าภาพ
แต่ไม่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรวิจัยอังกฤษ หมายรวมถึง มหาวิทยาลัย
องค์กรวิจัยที่ไม่แสวงหากำไร องค์กรการกุศล สภาวิจัยแห่งชาติ เช่น สภาวิจัยทางแพทย์
 นักวิจัยผู้ได้รับการสนับสนุน จะทำงานโดยตำแหน่ง และอยู่ในความควบคุมขององค์กร
ที่จะได้รับประโยชน์จากการวิจัยนั้น นักวิจัยผู้ได้รับการสนับสนุนนี้อาจจะได้รับเงินทุน
จากองค์กรในสหราชอาณาจักร หรือต่างประเทศ และควรขอวีซ่าในระดับที่ 5 ประเภท
แรงงานชั่วคราว หรือประเภทโครงการแลกเปลี่ยนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
(government authorised exchange) แต่นักวิชาการผู้ซึ่งต้องการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์
หรือ ปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการกับนักวิชาการด้วยกันในสหราชอาณาจักร อาจเข้า
ข่ายขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจได้
อาจารย์ทำงานวิจัยจะได้วีซ่า 12 เดือน แต่ไม่มีการต่อวีซ่าอีก
ผู้ติดตาม คือคู่สมรส และบุตรผู้เยาว์จะได้วีซ่าในระยะเวลาเท่ากันกับอาจารย์ ฯ แต่ต้อง

เข้าข่ายวีซ่าท่องเที่ยวทั่วไป หรือวีซ่าเด็กด้วย
บุตรผู้เยาว์มีสิทธิเรียนในโรงเรียนของรัฐระหว่างพักอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร

http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/academicvisitor
3B.9.10.2 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ (Business Visitors) อาจารย์ผู้ควบคุมนักศึกษา (Visiting
Professors)
นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาไทย อาจเข้ามาศึกษาในสหราชอาณาจักรในหลักสูตรต่าง

ประเทศ และมีอาจารย์ผู้ฝึกสอนคุมมาด้วย อาจารย์เหล่านี้อาจสอนนักศึกษาด้วยได้
แต่เฉพาะในสถานศึกษาเจ้าภาพที่อาจารย์คุมนักศึกษามา และอาจารย์จะต้องเป็นเจ้า
หน้าที่ รับค่าจ้างจากสถานศึกษาไทย และไม่ทำงานหรือมีที่ทำงานเป็นหลักอยู่ในสห
ราชอาณาจักร
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/visitingprofessors
3B.9.10.3 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทธุรกิจ (Business Visitors) ผู้ทำงานเกี่ยวกับศาสนา (Religious
Workers)
1. ผู้ทำงานเกี่ยวกับศาสนา เช่น พระภิกษุสงฆ์ ที่เดินทางมาร่วมงานเป็นครั้งคราว เช่น

งานประชุม เป็นต้น และทำการสอนหรือเทศน์ระหว่างอยู่ในอังกฤษ สามารถขอวีซ่า
ท่องเที่ยวประเภทธุรกิจได้ แต่ท่านต้องมีที่ประจำอยู่นอกอังกฤษ และไม่เข้ามารับตำ
แหน่งหรือทำงานประจำในอังกฤษ
2. พระภิกษุสงฆ์ที่จะเข้ามาทำงานและอยู่ประจำในวัด เพื่อการเทศน์ และการสอนศาสนา

จะต้องเข้าข่ายและขอวีซ่าภายใต้ระบบให้คะแนนระดับที่ 2 ประเภทนักบวช
3. พระภิกษุสงฆ์ที่เข้ามาทำงานชั่วคราวให้วัด อาจจะขอวีซ่าทำงานชั่วคราวได้ภายใต้

ระบบให้คะแนนระดับที่ 5 ประเภททำงานให้วัด (tier 5 temporary workers)
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/religiousworker
3B.9.11 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักกีฬา (Sports visitors)
นักกีฬาที่เข้ามาแข่งกีฬานัดพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันประเภทเดี่ยวหรือทีมจาก

ประเทศไทย รวมทั้งที่มาแข่งขันนัดการกุศล การแข่งขันเพื่อการโชว์ (Exhibition matches)
หรือเป็นนักกีฬาสมัครเล่นเข้ามาร่วมทีมสมัครเล่น
นักกีฬาที่เข้ามาเพื่อการปรากฎตัว แสดงตัว เซ็นหนังสือ สัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ ต่อรอง

สัญญา ติดต่อผู้สนับสนุน (Sponsorships) หรือมาเพื่อทำการทดลองเล่น (trials) หากไม่ใช่
การทดลองเล่นต่อหน้าผู้ชม ไม่ว่าผู้ชมจะจ่ายเงินค่าดูหรือไม่ก็ตาม ก็เข้าข่ายวีซ่าท่อง
เที่ยวประเภทนักกีฬา
นอกจากนี้ยังรวมถึงนักกีฬาที่มาแข่งขันในนัดเฉพาะพิเศษ และไม่มาประจำในสหราช

อาณาจักร เพียงมาร่วมการแข่งขันชนะเลิศ รายการต่าง ๆ เช่น
• British Open Golf หรือ Wimbledon
• นักรักบี้ ฟุตบอล คริกเก็ต หรือ
• นักมวยมาต่อยมวยรายการเดียว เป็นต้น
3B.9.11.1 เจ้าหน้าที่และผู้ติดตามสนับสนุนนักกีฬา
เจ้าหน้าที่และผู้ติดตามสนับสนุนนักกีฬา ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาอาชีพหรือสมัครเล่น ที่

เดินทางเข้ามาร่วมรายการแข่งขันเดียวกันกับนักกีฬา ก็ขอวีซ่าชนิดนี้ได้เช่นกัน เช่น
นักกายภาพบำบัด (Physiotherapists) ครูผู้ฝึกสอน (coaches) นักโภชนาการ (dieticians) องค์รักษ์
ประจำตัว (bodyguards) นักข่าว (press officers) เป็นต้น คนเลี้ยงม้า (grooms) สำหรับกีฬา
โปโลก็มากับนักแข่งโปโลได้ หากเจ้าหน้าที่พิจารณาวีซ่ามั่นใจว่าคนเลี้ยงม้าจะไม่มา
อยู่ประจำตลอดฤดูโปโลเพื่อทำงานในโรงม้า เจ้าหน้าที่ผู้มาร่วมในการแข่งขันเดียวกัน
กับนักกีฬา เช่น กรรมการ ผู้กำกับเส้น เหล่านี้ก็สามารถขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักกีฬา
ได้เหมือนกัน
การแข่งขันกีฬานัดการกุศล หรือเพื่อการโชว์ (Exhibition) ประเภทกิจสาธารณะ (testimonials)

แม้จะมาเล่นกับทีมอังกฤษก็ขอวีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักกีฬาได้ แต่ต้องไม่รับเงินค่าจ้าง
นอกจากค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายเท่านั้น
3B.9.11.2 นักกีฬาที่ต้องการมาฝึกหัด (Training)
• สามารถมาได้เป็นการชั่วคราวและต้องไม่มาอยู่ประจำในสหราชอาณาจักร
• ต้องไม่รับเงินจากองค์กรกีฬาสหราชอาณาจักร
• ไม่เข้ามาเล่นร่วมกันกับทีมอังกฤษ และ
• การแข่งขันที่เข้าร่วมจะต้องเป็นประเภท Friendly / exhibition เท่านั้น

http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/sportsvisitor
3B.9.12 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักแสดง (Entertainer Visitors)
คือนักแสดงที่มาแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ งานแข่งขันดนตรี

(Music competitions) งานแสดงเพื่อการกุศล ในสหราชอาณาจักรเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
ส่วนนักแสดงที่มาทำงานต้องเข้าข่ายระบบให้คะแนนระดับที่ 2 หรือ 5
วีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักแสดง หมายรวมถึง
• นักดนตรีที่มาร่วมงานแข่งขันดนตรี (music competitions)
• ผู้มีชื่อเสียงระดับโลกที่มาออกอากาศ ปรากฎตัว แต่จะรับค่าจ้างไม่ได้
• นักดนตรีที่มาทำการทดสอบ (audition)
• นักแสดงสมัครเล่นที่เข้ามาแสดงรายการใดรายการหนึ่งโดยเฉพาะ
• นักแสดงสมัครเล่นที่เข้ามาแสดงเป็นกลุ่ม เช่นนักร้องประสานเสียง นักดนตรีใน

วงดนตรีมาแสดงในรายการใดรายการหนึ่งโดยเฉพาะ
• นักแสดงอาชีพในรายการการกุศล หรือรายการที่ผู้จัดไม่ได้แสวงหากำไรและ

ผู้แสดงไม่ได้รับค่าจ้าง
• นักแสดงอาชีพหรือสมัครเล่นมาร่วมงานด้านวัฒนธรรมที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาล

 หรือองค์กรต่างชาติที่ได้รับการยอมรับ หรือมาร่วมในงานเทศกาล ต่าง ๆ ตามที่ระบุ
ไว้ใน http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/vistortransitvisa
เจ้าหน้าที่และผู้ติดตามสนับสนุนนักแสดง ไม่ว่าจะเป็นนักแสดงอาชีพหรือสมัครเล่น

ที่เดินทางเข้ามาร่วมรายการเดียวกัน เช่น นักโภชนาการ (Dieticians) องค์รักษ์ประจำตัว
(bodyguards) นักข่าว (press officers) เป็นต้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมาร่วมรายการเดียวกัน
กับนักแสดง เช่น นักออกแบบท่าเต้น (choreographers) ผู้กำกับเวที (stage managers) นักออก
แบบ (designers) เหล่านี้ก็เข้าข่ายวีซ่าท่องเที่ยวประเภทนักแสดงเช่นกัน
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/vistortransitvisa
3B.9.13 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทบิดาหรือมารดาผู้มีสิทธิเยี่ยมบุตรที่พำนักอยู่ในบิดาหรือ
มารดาต้องเข้าข่ายกฎข้อบังคับของวีซ่าท่องเที่ยวประเภททั่วไปข้างต้น
และต้องแสดง:
1. ว่าเป็นบิดาหรือมารดาของเด็กที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร และต้องการใช้สิทธิ

เพื่อที่จะได้เยี่ยมบุตร
2. ว่ามีบิดาหรือมารดา (หรือผู้อื่น) ซึ่งดูแลเด็กนั้นพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักร
3. ว่าเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และ
4. หลักฐานจากศาลอังกฤษว่าผู้ขอวีซ่ามีสิทธิเยี่ยมเด็ก หรือมีคำสาบาญยืนยัน

(sworn affidavit) จากผู้ที่ดูแลเด็กว่าผู้ขอวีซ่าได้รับอนุญาตให้เยี่ยมเด็กได้ และ
5. คำอธิบายอย่างละเอียดถึงกำหนดการและการจัดการต่าง ๆ สำหรับการเยี่ยมครั้งนี้

หากการเยี่ยมนี้จำเป็นต้องมีการควบคุม (supervised contact) ก็มีคำอธิบายของผู้ควบคุมด้วย
บิดาหรือมารดา ฯ จะได้วีซ่าให้อยู่ในสหราชอาณาจักรได้ 12 เดือน และหากถูกปฏิเสธ

วีซ่ามีสิทธิอุทธรณ์คำปฏิเสธนั้นด้วย
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/parentaccessrights
3B.9.14 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทญาติสนิทผู้มาช่วยดูแลเด็ก (Child minders for relatives)
1. ผู้ขอวีซ่าเป็นญาติสนิทของบิดาหรือมารดาเด็ก จะต้องเป็นญาติใกล้ชิดเช่น เป็น

พ่อแม่ พี่น้อง เขยสะใภ้ เป็นต้น ส่วนญาติอื่น ๆ ที่ห่างไกลออกไปอาจเข้าข่ายการขอ
วีซ่านี้ได้ หากญาตินั้นพักอาศัยอยู่เป็นครอบครัวเดียวกันกับบิดามารดาเด็กในประเทศ
ไทย หรือเป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดที่ยังเหลืออยู่ของบิดามารดาเด็ก
2. บิดามารดาเด็กไม่สามารถดูแลเด็กในช่วงเวลากลางวันได้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปเพื่อที่

จะให้บิดามารดาเด็กไปทำงานนอกบ้าน แต่เป็นเพียงการช่วยเหลือดูแลเด็กอย่างชั่วคราว
เท่านั้น
3. บิดามารดาเด็กไม่มีวีซ่าที่จะนำไปสู่การอยู่อังกฤษได้อย่างถาวร
4. ญาตินี้จะไม่รับเงินเดือน นอกจากได้ที่พักอาศัย อาหารการกิน และเงินติดตัวบ้าง

เท่านั้น ญาตินี้จะไม่อยู่ในอังกฤษเกินกว่า 6 เดือน.
ญาติมีสิทธิอุทธรณ์หากถูกปฏิเสธวีซ่า

http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/childminder
3B.9.15 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทเพื่อสัมภาษณ์เข้าทำงาน (Persons coming for job interviews)
เจ้าหน้าที่พิจารณาคำร้องขอวีซ่าต้องมั่นใจว่าผู้ขอวีซ่าจะกลับมาประเทศไทยเพื่อขอวีซ่า

ใหม่ในประเภทที่ถูกต้อง หากได้งานที่ขอวีซ่าไปสัมภาษณ์นี้
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/jobinterview
3B.9.16 วีซ่าท่องเที่ยวประเภทพยานปากสำคัญในศาล (Witnesses attending trials in the UK)
ผู้ขอวีซ่าต้องแสดงหลักฐานจากทนายในอังกฤษว่าการไปปรากฎตัวในศาลของผู้ขอฯ เ

ป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับฝ่ายอัยการ หรือฝ่ายจำเลยในคดี
http://www.ukvisas.gov.uk/en/ecg/visitandtransit/witnessesattendingtrialsinUK#10579996
***********************************************************************
กฎหมายเข้าเมืองฉบับปรับปรุงใหม่ (Borders, Citizenship and Immigration Act 2009)
เฉพาะข้อเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับการขอพำนักถาวร และการขอสัญชาติอังกฤษ
กฎหมายเข้าเมืองฉบับปรับปรุงใหม่ (Borders, Citizenship and Immigration Act 2009)
เฉพาะข้อเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับการขอพำนักถาวร และการขอสัญชาติอังกฤษ
http://www.opsi.gov.uk/acts/acts2009/ukpga_20090011_en_5#pt2-pb1-l1g41
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2009 กฎหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงการขอพำนักถาวร และการขอ
สัญชาติตามระบบใหม่ได้ผ่านการอนุมัติของสภาผู้แทน ฯ (Parliament) และได้รับพระ
บรมราชานุญาตแล้ว (Royal assent) โดยบางส่วนจะเริ่มบังคับใช้ทันที บางส่วนจะเริ่มปลาย
ปี 2009 และบางส่วนยังไม่มีกำหนดแน่นอน
ข้อดีสำหรับคนไทยในระหว่างการเปลี่ยนกฎหมาย (Transitional arrangement)
แม้กฎหมายใหม่นี้จะได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว แต่รัฐบาลยังไม่ได้ออกกฎหมายลูกซึ่ง
จำเป็นสำหรับการระบุรายละเอียดข้อบังคับปลีกย่อยต่างๆ อีกมาก ดังนั้นโฮมออฟฟิส
ประกาศไว้ในสภา ฯ ว่า จะยังไม่มีบังคับใช้ข้อกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการขอพำนักถาวร
 (Permanent resident) และการขอสัญชาติ จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม 2011 คืออีก 2 ปี
ข้างหน้า และเมื่อเริ่มบังคับใช้ตามกำหนดดังกล่าว บุคคลต่อไปนี้ คือ
1. ผู้ที่ได้รับวีซ่าถาวรแล้ว และ
2. ผู้ที่ได้ยื่นใบสมัครขอวีซ่าถาวรก่อนเดือนกรกฎาคม 2011 แต่โฮมออฟฟิสยังไม่ได้

พิจารณาใบสมัครนั้น
ก็ยังมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเก่าต่ออีก 2 ปี หมายความว่า เมื่อบุคคล
เหล่านี้สมัครขอสัญชาติ ใบสมัครของเขาจะได้รับการพิจารณาภายใต้กฎข้อบังคับของ
กฎหมายเก่า อีกเป็นระยะเวลา 2 ปี จนถึงเดือนกรกฎาคม 2013 ดังนั้นชาวไทยที่ต้องการ
พำนักอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร ควรรีบเรียนและสอบภาษาอังกฤษให้ได้โดยเร็ว
เพื่อที่จะทำการสมัครขอวีซ่าถาวรและสัญชาติภายใต้กฎข้อบังคับของกฎหมายเก่า ซึ่ง
ง่ายและเร็วกว่าของกฎหมายใหม่
ผลกระทบสำหรับคนไทยภายใต้กฎหมายใหม่
ภายใต้กฎข้อบังคับของกฎหมายใหม่ การได้รับสิทธิพำนักถาวรหรือสัญชาติ จะยากขึ้น
และการสมัครจะใช้เวลานานขึ้น เพราะจะมีขั้นตอนคือการเป็นพลเมืองทดลอง เพิ่มเติมขึ้น
มาจากกฎหมายเดิม ดูรายละเอียดใน ตารางแสดงระบบการขอสัญชาติและพำนักถาวร
ภายใต้กฎหมายใหม่
ผู้ที่มีสิทธิขออนุญาตเป็นพลเมืองทดลอง
ผู้ที่มีสิทธิขออนุญาตเป็นพลเมืองทดลอง เพื่อก้าวต่อไปเป็นพลเมืองเต็มขั้น หรือพำนัก

ถาวรได้ คือบุคคลเหล่านี้เท่านั้น
• คนเข้าเมืองด้านเศรษฐกิจ คือผู้ที่เข้ามาทำงานภายใต้ระบบให้คะแนนระดับที่ 1 และ

ระดับที่ 2 และผู้ติดตาม
• คนเข้าเมืองด้านครอบครัว เช่นคู่สมรส และผู้ติดตาม
• ผู้ลี้ภัย (refugees)
ผู้สมัครขอเป็นพลเมืองทดลองจะต้องมีวีซ่าประเภทที่อนุญาตให้มีสิทธิขอสัญชาติหรือ
ขอพำนักถาวรได้ตลอดระยะเวลาที่กำหนดไว้ (Qualifying status) โดยไม่มีการเปลี่ยนประ
เภทของสิทธินั้นๆ เช่น เดิมมีสิทธิจากวีซ่าภายใต้ระบบให้คะแนน จะเปลี่ยนมาใช้สิทธิ
จากวีซ่าประเภทครอบครัวไม่ได้ (แต่เปลี่ยนงานในระดับที่ 1 เป็นระดับที่ 2ได้)
ผู้ที่ไม่มีสิทธิขออนุญาตเป็นพลเมืองทดลอง
• นักเรียนนักศึกษา และผู้ติดตาม
• ผู้ที่มาทำงานชั่วคราวในระดับที่ 5 และผู้ติดตาม
• นักท่องเที่ยว
แต่หากนักเรียนนักศึกษาจะเปลี่ยนวีซ่ามาเป็นระดับที่ 1 หรือ 2 ก็จะต้องเริ่มนับกำหนด
ระยะเวลาใหม่สำหรับการขอเป็นพลเมืองทดลอง
กฎข้อบังคับอื่น ๆ
1. ผู้ที่ได้วีซ่าทำงานในระดับที่ 1-2 ภายใต้ระบบให้คะแนน จะต้องทำงานตลอดระยะ

เวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ในขอเป็นพลเมืองทดลอง หรือการขอสัญชาติ
2. ผู้ที่ได้วีซ่าประเภทสมาชิกในครอบครัว จะต้องได้รับการรับรองจากผู้รับรองคนเดียว
กัน ทั้ง 2 ขั้นตอน คือ เมื่อขอเป็นพลเมืองทดลอง และเมื่อขอสัญชาติ ยกเว้นผู้ได้วีซ่า
ประเภทหม้ายของชาวอังกฤษ (Bereavement) หรือประเภทเป็นเหยื่อต่อความรุนแรงใน
ครอบครัว (domestic violence)
3. ในการขอสัญชาติ กฎข้อบังคับเรื่องกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้อยู่นอกสหราช
อาณาจักรได้ จะไม่มีการถัวเฉลี่ยอีกต่อไป โดยจะอนุญาตให้อยู่นอกประเทศได้ปีละ
ไม่เกิน 90 วัน จากเดิมซึ่งอนุญาตไว้ 450 วันภายใน 5 ปี
4. ระยะเวลาในการเป็นพลเมืองทดลองคือ 1-3 ปีสำหรับผู้ที่จะขอสัญชาติ และ 3-8 ปี
สำหรับผู้ที่จะขอพำนักถาวร โดยระยะเวลาจะสั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมที่
เป็นสาธารณะประโยชน์ เช่นการทำงานเป็นอาสาสมัครให้องค์กรการกุศล เป็นต้น
(แต่ยังไม่มีรายละเอียดในเรื่องนี้)
5. ผู้ที่เป็นพลเมืองทดลอง จะยังไม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือใด ๆ ของรัฐ
6. เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2009 โฮมออฟฟิสประกาศว่าจะให้มีการสอบภาษาอังกฤษ 2 ครั้ง
ครั้งแรกเมื่อตอนคนเข้าเมืองสมัครขอเป็นพลเมืองทดลอง โดยข้อสอบจะเน้นเรื่องการใช้
ชีวิตประจำวัน ส่วนครั้งที่สองเมื่อตอนสมัครขอสัญชาติ ข้อสอบจะยากขึ้น และมีเนื้อหา
เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมือง
http://www.bia.homeoffice.gov.uk/sitecontent/newsarticles/2009/august/pbs-for-citizenship
จะยกเลิกการให้วีซ่าถาวรสำหรับผู้ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรมาเป็นเวลานาน
ถึงแม้จะยังไม่มีการระบุไว้ในกฎหมายใหม่ แต่รัฐบาลก็มีดำริจะยกเลิกการให้วีซ่าถาวร
สำหรับผู้ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรมาเป็นเวลานาน (Indefinite Leave based on Long
Residence) ไม่ว่าจะเป็นประเภท 10 ปี หรือ 14 ปี ดังนั้นผู้ที่ใกล้จะครบกำหนด ควรจะ
รีบเรียนและสอบภาษาอังกฤษให้ได้โดยเร็ว เพื่อที่จะขอวีซ่าถาวรให้ได้ก่อนที่โฮมออฟฟิส
จะเปลี่ยนกฎหมายในเรื่องนี้
หมายเหตุคำแปล
ในบทนี้ผู้เขียนใช้คำว่า วีซ่าถาวร สำหรับ คำภาษาอังกฤษที่โฮมออฟฟิสใช้ คือ Indefinite
leave to remain แต่ภายใต้กฎหมายใหม่ โฮมออฟฟิสไม่ใช้ คำว่า indefinite leave to remain
อีกต่อไป แต่ใช้คำว่า permanent residence ซึ่งผู้เขียนแปลว่า การพำนักถาวร ผู้เขียนเข้าใจ
ว่าไม่มีหรือมีความแตกต่างน้อยมากระหว่างสองคำนี้

ข้อมูลการขอสัญชาติ

ข้อมูลหาได้ที่นี่http://www.bia.homeoffice.gov.uk/britishcitizenship/eligibility/naturalisation/
 *********************************************************************************
การทำพินัยกรรมตามกฏหมายไทย
วิธีทำพินัยกรรมแบบธรรมดา
ต้องทำเป็นหนังสือ จะเขียนหรือพิมพ์ โดยจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ต้องลงวันที่
เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ต้องมีข้อความแสดงว่าเป็นพินัยกรรม คือ มีข้อความระบุว่าจะยก
ทรัพย์สินหรือกิจการใดให้แก่ใคร เท่าใด ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อ
หน้าพยาน จะใช้ตราประทับ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ ถ้า
ลงลายมือชื่อไม่ได้ จะพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์
นิ้วมือ 2 คนในขณะนั้น พยานรับรองข้อความในพินัยกรรมต้องมี 2 คน พยานรับรองข้อ
ความในพินัยกรรมทั้ง 2 คน ต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ผู้เขียนพินัยกรรม (ผู้พิมพ์พินัย
กรรมถือว่าเป็นผู้เขียน) ถ้าเป็นพยานรับรองข้อความในพินัยกรรมด้วยก็ต้องระบุให้รู้ว่าเป็น
ทั้งผู้เขียนและพยาน ถ้ามีการขูดลบตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในพินัยกรรม จะต้อง
ลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อกำกับต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน พยานต้องลงลายมือชื่อ
ด้วย ถ้าผู้อื่นเขียน ก็ให้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
วิธีทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมด้วยตนเองตลอด จะให้ผู้อื่นเขียนหรือพิมพ์
แทนไม่ได้ ต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ จะใช้ตรา
ประทับหรือใช้เครื่องหมายแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ จะมีพยานด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้ามี
การขูด ลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ [ป.พ.พ.
มาตรา 1657]
ตัวอย่างพินัยกรรมแบบธรรมดา และแบบเขียนเองทั้งฉบับ
พินัยกรรมแบบธรรมดา (แบบที่หนึ่ง)
พินัยกรรม

ทำที่……………………………………………
วันที่……………เดือน………………………….พ.ศ………….

ข้าพเจ้า………………………………………………….อายุ…………ปี อยู่บ้านเลขที่ …………
……หมู่ที่……….. ถนน…………………………………….ตำบล/แขวง…………………………
………….อำเภอ/เขต……………………………. จังหวัด……………………..………….ได้ทำ
พินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพ
เจ้าทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในอนาคตตกได้แก่……………………………
…………………………………………………………………………. แต่ผู้เดียว
ลงชื่อ…………………………………………ผู้ทำพินัยกรรม
(ลายพิมพ์นิ้วมือของ………………………………………..)

ข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ขอรับรองว่า……………………………ผู้ทำพินัยกรนี้ได้ทำ
พินัยกรรมและพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าข้าพเจ้า และได้สังเกตเห็นว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติ
สัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกประการ ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในพินัยกรรม
ลงชื่อ………………………………………พยาน
(………………….…………………)
ลงชื่อ……………………………………..พยานและผู้เขียน
(………………………………)
พินัยกรรมแบบธรรมดา (แบบที่สอง)
พินัยกรรม

ทำที่…………………………………………..
วันที่……………เดือน………………………….พ.ศ. …………..

ข้าพเจ้า……………………………………………………อายุ………….ปี อยู่บ้านเลขที่
……………หมู่ที่……….. ถนน………………………………………ตำบล/แขวง…………
………………………อำเภอ/เขต……………..……………….. จังหวัด………………………
……………….ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรม
ให้แบ่งทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคต
ให้แก่บุคคลที่มีชื่อต่อไปนี้ คนละหนึ่งส่วนเท่าๆ กันคือ
1. ……………………………………………………………………………
2. ……………………………………………………………………………
3. ……………………………………………………………………………
4. ……………………………………………………………………………

และขอให้…………………………………………………………เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพ
เจ้าเพื่อจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าเห็นว่าพินัยกรรมฉบับนี้มีข้อความถูกต้องตรงตามเจตนาของข้าพเจ้าแล้ว จึงได้

ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน
ลงชื่อ…………………………………………ผู้ทำพินัยกรรม

(ลายพิมพ์นิ้วมือของ………………………………………..)
ข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ขอรับรองว่า…………………ผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้
ไทำพินัยกรรมต่อหน้าข้าพเจ้า และได้สังเกตเห็นว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติ
สัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกประการ ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในพินัยกรรม
ลงชื่อ……………………………………..พยาน
(…………………………………….)
ลงชื่อ……………………………………..พยานและผู้เขียน
(…………………………………….)

พินัยกรรมแบบธรรมดา (แบบที่3)
พินัยกรรม

ทำที่………………………………………….
วันที่…………เดือน……………………………พ.ศ…………

ข้าพเจ้า…………………………………………………….อายุ…………ปี อยู่บ้านเลขที่
…..หมู่ที่……..ถนน………………………………….. ตำบล/แขวง……………………………..…..
อำเภอ/เขต…………………..……………จังหวัด………………………………………..ได้ทำ
พินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้แบ่งทรัพย์สินต่างๆ
ของข้าพเจ้าให้บุคคลดังต่อไปนี้
1. ที่ดินโฉนดเลขที่……………………………พร้อมสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ตำบล…………………
…………………..อำเภอ………………………….จังหวัด………………………….ขอมอบให้แก่
……………………………………….
2. เงินสดจำนวน…………………………..บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคาร……………………………

…………………..สาขา…………………………………………..……. ตามสมุดเงินฝากประเภท
……………………………………… หมายเลขบัญชี……………………………………….
มอบให้แก่……………………………………………………….
3. เครื่องเพชร พลอย ทอง นาค เงิน (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ขอมอบให้แก่…………………

………………….…………………………………………………………………
4. ทรัพย์สินของข้าพเจ้านอกจากที่ระบุตามข้อ 1, 2, 3 นี้แล้ว ขอมอบให้แก่…………………

……………..……………………………………………………………………
5. ขอให้……………………………………………………………… เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพ

เจ้า เพื่อจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้า
พินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นเป็นจำนวน………………ฉบับ ทุกฉบับมีข้อความตรงกัน และข้าพ

เจ้าเห็นว่ามีข้อความถูกต้องตรงตามเจตนาของข้าพเจ้าแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็น
สำคัญต่อหน้าพยานและพยานทั้งสองได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าข้าพเจ้า
ลงชื่อ…………………………………………ผู้ทำพินัยกรรม
(………………………………………….)
ลงชื่อ…………………………………………..พยาน
(………………………………………….)
ลงชื่อ……………………………………..พยานและผู้เขียน
(……………………………………..)

ข้าพเจ้านายแพทย์………………………..แพทย์ประจำโรงพยาบาล………………………
ขอรับรองว่าในขณะที่ทำพินัยกรรมนี้………………………………………………..ผู้ทำพินัย
กรรมมีสติ สัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกประการ จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ลงชื่อ……………………………นายแพทย์และพยาน
(……………………………)

ข้อสังเกตในการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา
1. การทำพินัยกรรมแบบนี้ จะทำโดยใช้วิธีเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ หากใช้วิธีเขียนก็ต้องเ
ขียนทั้งฉบับ หากใช้วิธีพิมพ์ก็ต้องพิมพ์ทั้งฉบับ
2. ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรม ใครจะเป็นผู้เขียน หรือผู้พิมพ์ก็ได้ แต่ในการเขียนต้อง

ใช้คนๆ เดียวเขียนพินัยกรรมทั้งฉบับ และในการพิมพ์ก็ต้องใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกัน
ทั้งฉบับ เพื่อมิให้เกิดปัญหาแก่ทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว
3. ต้องลงวันเดือนปีขณะที่ทำพินัยกรรม ถ้าไม่ลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมแล้วย่อมไม่ถือ

ว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
4. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
5. พยานทั้งสองคนตามข้อ 4 ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมต่อ

หน้าผู้ทำพินัยกรรมและต่อหน้าพยานด้วยกันในขณะนั้นด้วย
6. พยานในพินัยกรรม จะต้องบรรลุนิติภาวะแล้วคืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือกรณีสมรส

กันเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กฎหมายก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว แม้อายุยังไม่ครบ 20 ปี
บริบูรณ์ และพยานดังกล่าวต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคน
เสมือนไร้ความสามารถ ทั้งต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้หรือตาบอดทั้งสองข้าง
7. ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม จะ

เป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ (แบบที่หนึ่ง)
พินัยกรรม

ทำที่……………………………….
วันที่…………เดือน……………………พ.ศ. …………

ข้าพเจ้า………………………………..……… อายุ…….…ปี อยู่บ้านเลขที่…….…….. หมู่ที่
……….. ถนน…………………………….ตำบล/แขวง…………………………..อำเภอ/เขต……
……………………………… จังหวัด…………………………………. ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้น
ไว้ เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่
ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในอนาคตตกได้แก่………………………………… ………………
…………………………………..แต่ผู้เดียว
พินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ 2 ฉบับ มีข้อความถูก

ต้องตรงกันทุกประการ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่………………………………………….. อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่…………………………………
ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติ
ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว

ลงชื่อ…………………………………………ผู้ทำพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ (แบบที่สอง)
พินัยกรรม

ทำที่……………………………………..
วันที่…………. เดือน…………………..พ.ศ. ………….

ข้าพเจ้า………………………………………อายุ………….ปี อยู่บ้านเลขที่……………หมู่ที่
………. ถนน…………..….……..…..… ตำบล/แขวง……………………………..อำเภอ/เขต…
………………………… ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึง
แก่กรรมให้แบ่งทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปใน
อนาคตให้แก่บุคคลที่มีชื่อต่อไปนี้ คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กันคือ
1. ………………………………………………………..
2. ………………………………………………………..
3. ………………………………………………………..
4. ………………………………………………………..
……………………………………………………………
……………………………………………………………
พินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ 2 ฉบับ มีข้อความ

ถูกต้องตรงกันทุกประการ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่…………….………….………. อีกฉบับหนึ่ง
เก็บไว้ที่……………..……………….
ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติ
ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว

ลงชื่อ…………………………….……ผู้ทำพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ (แบบที่สาม)
พินัยกรรม

ทำที่…………………………………….
วันที่………….เดือน……………………พ.ศ. …………

ข้าพเจ้า……………………..………………อายุ………..ปี อยู่บ้านเลขที่……………หมู่ที่
……….. ถนน…………………………….. ตำบล/แขวง……………………………..อำเภอ/เขต
……………………… จังหวัด…………………………… ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อ
แสดงว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้แบ่งทรัพย์สินต่าง ๆ ของข้าพเจ้าให้บุคคลดังต่อไปนี้
1. ที่ดินโฉนดเลขที่……………….…อยู่ที่ตำบล………….…………..อำเภอ……………………

…….จังหวัด……………………………ขอมอบให้แก่………………………………………………
……………………
2. ที่ดินโฉนดเลขที่………………………พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ที่ตำบล……………………

………… อำเภอ……………………………จังหวัด……………………………ขอมอบให้แก่…
…………………………………….
3. เงินสดจำนวน……………………………..บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคาร ………………………

………. สาขา…………………………………….ตามสมุดเงินฝากประเภท……………………
…………หมายเลขบัญชี………………………………………….
ขอมอบให้แก่……………………………………………………….
4. เงินสดจำนวน……………………………..บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคาร……………………

สาขา…………………………………….ตามสมุดเงินฝากประเภท………………………………
หมายเลขบัญชี………………………………………….ขอมอบให้แก่……………………………
………………………….
5. เครื่องเพชร พลอย ทอง นาค เงิน (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ขอมอบให้แก่…………………

………………………………………………………………………………
6. ทรัพย์สินของข้าพเจ้านอกจากที่ระบุตามข้อ 1,2,3,4,5 นี้แล้วขอมอบให้แก่…………….…………………………………………………………………………………
7. ขอให้………………………………………….เป็นผู้จัดการศพข้าพเจ้า โดยให้หักเงินค่าทำ

ศพไว้จากทรัพย์สินในข้อ 6 จำนวน………………………….บาท มอบให้ผู้จัดการศพข้าพ
เจ้า
8. ขอให้…………………………………………….เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้า เพื่อจัดการ

แบ่งปันทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าตามที่ได้แสดงเจตนาไว้แล้วข้างต้น
พินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ 2 ฉบับ มีข้อความ

ถูกต้องตรงกันทุกประการ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่………………………………..อีกฉบับหนึ่งเก็บ
ไว้ที่………………………………
ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติ
ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว

ลงชื่อ………………………………….ผู้ทำพินัยกรรม
 
 *********************************************************************
  สัญชาติของเด็กที่เกิดในประเทศอังกฤษ สัญชาติของเด็กที่เกิดในประเทศ
อังกฤษ
คำถาม
มีปัญหาคือถือวีซ่านักเรียน ไม่ได้จดทะเบียน ไปคลอดลูกที่อังกฤษคะ ลูกจะได้
British Passport ไหม
คำตอบ
ถ้าเด็กเกิดในประเทศอังกฤษ เด็กจะได้สัญชาติอังกฤษทันทีถ้าพ่อ (ในกรณีที่พ่อและ
แม่แต่งงานกัน หรือ พ่อมีชื่อเป็นบิดาในใบเกิดที่ออกภายในหนึ่งปีหลังที่ลูกเกิด) หรือ
แม่คนใดคนหนึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษ หรือได้วีซ่าถาวร (indefinite leave to remain)

ถ้าไม่เข้าข่ายข้างต้น หลังจากเด็กเกิดแล้ว ถ้าพ่อหรือแม่ได้วีซ่าถาวรแล้ว ก็มีสิทธิจด

ทะเบียน (registration) ให้ลูกได้สัญชาติอังกฤษได้ ก่อนที่ลูกจะอายุครบ 18 ปี หรือ

ถ้าเด็กคนนั้นอยู่ในประเทศอังกฤษ 10 ปีแรกของชีวิต โดยที่ไม่ได้ออกไปนอกประเทศ

เกิน 90 วันในปีใดปีหนึ่ง

คุณสามารถดูรายละเอียดได้ที่

http://www.bia.homeoffice.gov.uk/sitecontent/documents/britishcitizenship/informationleaflets/bnchapters/bn1.pdf?view=Binary
 ************************************

เงินสงเคราะห์เลี้ยงดูเด็ก (Child Benefit) และเครดิตภาษี (Tax Credit)

เงินสงเคราะห์เลี้ยงดูเด็ก (Child Benefit) และเครดิตภาษี (Tax Credit)
การเปลี่ยนแปลงก่อน เดือนเมษายน 2009
เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2009 เป็นต้นไป เงินสงเคราะห์เลี้ยงดูเด็ก (Child Benefit)
จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิม 3 เดือน คือวันที่ 6 เมษายน 2009 โดยเงินสงเคราะห์
เลี้ยงดูเด็ก (Child Benefit) จำนวนใหม่ที่รัฐบาลจะจ่ายคือ 20.00 ปอนด์ต่อสัปดาห์ สำหรับ
บุตรคนแรกหรือคนเดียว และ 13.20 ปอนด์ต่อสัปดาห์ สำหรับบุตรคนอื่น ๆ
การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2009
เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2009 เป็นต้นไป ค่าลดหย่อนส่วนตัว (Personal allowance) จะเพิ่ม
เป็น 6,475 ปอนด์ จากเดิม 6,035 ปอนด์ สำหรับปีภาษี 2008- 2009 ซึ่งเงินจำนวนนี้เทียบเท่า
กับการมีรายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ (income tax) จำนวน 125 ปอนด์ต่อสัปดาห์
อัตราภาษีเงินได้ระดับพื้นฐาน (Basic rate income tax) (20 เปอร์เซ็นต์ และระดับสูง 40
เปอร์เซ็นต์) จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่จำนวนเงินได้สำหรับการจ่ายภาษีในอัตราพื้นฐาน
(ก่อนที่จะต้องเสียในอัตราสูง) (Basic rate tax band) จะเพิ่มจาก 34,800 ปอนด์ เป็น 37,400
ปอนด์ต่อปี
 ค่าลดหย่อนส่วนตัวอื่น ๆ (Other personal allowances) ค่าลดหย่อนผู้สูงอายุ (age-related
allowances) ค่าลดหย่อนคู่สมรส (married couple allowance) และจำนวนรายได้จากเงินเก็บ
ก่อนเสียภาษี 10 เปอร์เซ็นต์ (starting rate limit for savings) จะเพิ่มขึ้นตามอัตราดัชนีค่าครองชีพ
 (indexation)
เครดิตภาษีส่วนของเด็ก (Child element of child tax credit) จะขึ้น 75 ปอนด์สูงกว่าอัตราดัชนี
ค่าครองชีพ (indexation) จำนวนนี้ได้รวม 25 ปอนด์ซึ่งกำหนดเดิมจะขึ้นจากเดือน เมษายน
2010 มาขึ้นในปี 2009 แทน
เครดิตภาษีจากการทำงาน (Working tax credits) และค่าลดหย่อนผู้ปกครอง (guardians
allowance) จะเพิ่มขึ้นเท่ากับอัตราดัชนีค่าครองชีพ (indexation)
*****************************************************************************

อย่านำของก๊อบปี้จากประเทศไทยไปยุโรป

ข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศ
อย่านำของก๊อบปี้จากประเทศไทยไปยุโรป

การนำสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาติดตัวเข้ายุโรปอาจต้องโทษจำคุกและโทษ
ปรับ
     กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ขณะนี้ประเทศในยุโรป
บางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น ได้เพิ่มความเข้มงวดใน
การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งรวมทั้งการสกัดกั้นการนำเข้าสินค้าละเมิด
ทรัพย์สินทางปัญญาโดยถือสินค้าติดตัวขณะเดินทางไปยังประเทศดังกล่าว หากตรวจ
พบว่าผู้โดยสารรายใดถือสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาติดตัวขณะเดินทาง อาจต้อง
โทษจำคุกและโทษปรับในอัตราสูง รวมทั้งอาจถูกยึดสินค้านั้นด้วย
     กระทรวงการต่างประเทศจึงขอแจ้งเตือนประชาชนมิให้ถือสินค้าละเมิดทรัพย์สินทาง

ปัญญาติดตัวขณะเดินทางไปยังประเทศในยุโรป เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางคดีและการ
ต้องโทษหากกระทำผิดกฎหมายในการเดินทางไปประเทศดังกล่าว
(28 มกราคม 2552

************************************************************************

การสอบประวัติ ค่าเลี้ยงดู และ บำนาญ

 การสอบประวัติ
• หญิงไทยจะทราบได้อย่างไรว่า  ชายอังกฤษยังไม่มีคู่สมรสในเวลาที่จะแต่งงานกัน
กองทะเบียนกลาง General Registry http://www.gro.gov.uk/gro/content/contactus/   มีทะเบียนการ
เกิด สมรส ตาย ของทุกคนทั่วประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1837 (ประมาณ 170 ปี) และมีทะเบียน
การเกิด สมรส และตายของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับทหารอังกฤษ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1761 (เกือบ
250 ปี) สั่งซื้อสำเนาทะเบียนได้ออนไลน์ จะเป็นทะเบียนของใครก็ได้ ข้อมูลเหล่านี้เป็น
หลักฐานสาธารณะ Principal Registry of the Family Division, First Avenue House, 42-49 High Holborn,
London, WC1V 6NP มีหลักฐานทะเบียนหย่าตั้งแต่ปี คศ 1858 สั่งซื้อสำเนาได้
ค่าเลี้ยงดู (Welfare Benefit)

• บุตรที่เกิดจากหญิงไทยกับสามีชาวอังกฤษ  มีสิทธิได้รับเงินค่าเลี้ยงดูจากรัฐบาล
อังกฤษหรือไม่
• หากเด็กเป็นบุตรนอกสมรส  จะมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงดูหรือไม่

การได้รับเงินสงเคราะห์ของรัฐในเกือบทุกกรณี ขึ้นอยู่กับสถานะทางกฎหมายเข้าเมือง
ของพ่อหรือแม่ของเด็ก พ่อหรือแม่ที่ไม่ได้อยู่ในบังคับของกฎหมายเข้าเมือง เช่นได้
วีซ่าถาวรแล้ว (indefinite leave to remain) มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ของรัฐบาลได้ เช่น
Child benefit เป็นต้น (อัตราปี 08-09 ลูกคนแรก/เดียว18.80 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ลูกคนอื่น ๆ
12.55 ปอนด์ต่อสัปดาห์) หากยังอยู่ในบังคับของกฎหมายเข้าเมืองก็ยังรับเงินสงเคราะห์
ไม่ได้ ในกรณีนี้ พ่ออังกฤษรับได้ แม่ขึ้นอยู่กับวีซ่าของเธอ กฎหมายอังกฤษ เกือบจะ
ในทุกกรณีจะไม่มีการพูดถึงสถานะของเด็กว่าเป็นบุตรนอกหรือในสมรส แต่จะใช้คำว่า
เมื่อเด็กเกิดพ่อและแม่สมรสกันหรือไม่เท่านั้น เพราะถือว่าประเด็นคือความสัมพันธ์
ระหว่างพ่อและแม่ ไม่ใช่สถานะหรือคุณสมบัติของลูก ดังนั้นการได้รับเงินสงเคราะห์
ต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสถานะส่วนตัวของพ่อหรือแม่ ไม่ใช่ความเป็นบุตรนอกหรือในสมรสของ
ลูก
บำนาญ (Pension)

• หญิงไทยที่มีสามีชาวอังกฤษ  มีสิทธิรับบำนาญของสามีหรือไม่
มี

• เงื่อนไขการขอรับบำนาญเป็นอย่างไร
ขึ้นอยู่กับบำนาญชนิดไหน ของรัฐ State pension ต้องมีหมายเลข National Insurance Number
ใบทะเบียนสมรส คำแปล และใบมรณบัตร (แล้วแต่กรณี) ของที่ทำงาน occupational อาจ
สอบถามจากที่ทำงานของสามีได้ หรือบำนาญส่วนตัว personal pension ต้องมีข้อมูลว่ามี
บำนาญอยู่ที่บริษัทไหน และรายละเอียดของบำนาญนั้น เพราะต้องติดต่อกับแต่ละแห่ง
• เมื่อสามีตายแล้ว  ยังมีสิทธิได้รับบำนาญอีกหรือไม่ นานเท่าใด
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน สามารถสอบถามได้ที่ The Pension Service
http://www.thepensionservice.gov.uk/contactus/home.asp  แต่ต้องมีข้อมูลของสามี เช่น
National Insurance Number   เป็นต้น
เงินบำนาญของรัฐในกรณีคู่สมรสเพศเดียวกันหรือต่างเพศเสียชีวิตมี 3 ชนิด คือ
– ทดแทนความทุกข์โศก Bereavement Payment ได้ครั้งเดียว 2,000 ปอนด์ ไม่ต้องเสียภาษี

ขอได้ที่ Jobcentre Plus หรือ Jobcentre หรือสำนักงานเงินสงเคราะห์ของรัฐ social security office.
– ค่าทุกข์โศก Bereavement Allowance ได้ทุกสัปดาห์ ไม่เกิน 52 สัปดาห์ ๆ เท่าไรขึ้นอยู่กับ

จำนวนที่ผู้เสียชีวิตได้จ่ายไว้แล้ว สูงสุดไม่เกินสัปดาห์ละ 87.30 ปอนด์
– ค่าเลี้ยงดูแม่หม้ายลูกติด Widowed Parent’s Allowance ได้ทุกสัปดาห์สำหรับแม่หม้ายที่

กำลังท้องเมื่อสามีเสียชีวิตหรือมีลูกที่กำลังรับ child benefit เมื่อสามีเสียชีวิต
 *************************************************************

การเข้าถือสัญชาติสำหรับคนที่แต่งงานกับคนอังกฤษ

การเข้าถือสัญชาติสำหรับคนที่แต่งงานกับคนอังกฤษ
ขอแก้ไขความผิดพลาดในคู่มือ อยู่ยังไงในอังกฤษ ตามที่ผู้อ่านท่านหนึ่งได้ท้วงติง
มาดังนี้นะค่ะ ขอให้รับทราบกันตามนี้ด้วย
บทที่ 3 การเข้าเมืองและการเข้าถือสัญชาติอังกฤษ
หน้า 3-60
หัวข้อ ‘ขอเข้าถือสัญชาติในฐานะอยู่ในสหราชอาณาจักรมาแล้ว สามปี และเป็นคู่

สมรสของชาวอังกฤษ’
ตรงกฎข้อบังคับเพิ่มเติม บุลเล็ตพ้อยท์ที่ 2 ที่บอกว่า ‘ถอยหลังไปจากวันที่ กรมตรวจ

คนเข้าเมืองได้รับคำร้องของท่าน ท่านจะต้องมีวีซ่าประเภทอยู่อยู่ในสหราชอาณาจักร
ได้อย่างถาวร (Indefinite Leave to Remain) มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี’
อันนี้เข้าใจว่าไม่จำเป็นสำหรับการสมัคร ประเภทนี้ สำหรับคนที่แต่งงานกับคนอังกฤษ

ไม่จำเป็นต้องถือ ILR 1 ปีครับ ถ้าอยู่ในประเทศนี้มาแล้วสามปี เมื่อไหร่ได้ ILR ก็ขอ
naturalize ได้เลย ไม่ต้องรอหนึ่งปี

หวังว่าข้อมูลนี้คงมีประโยชน์นะคะ  เผื่อทำให้คนไทยบางคนได้สัญชาติประเทศนี้เร็วขึ้น

*******************************************************************

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube











วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น